How must the company set aside a legal reserve according to the law when paying dividends?

How must the company set aside a legal reserve according to the law when paying dividends?

Sorry, this entry is only available in Thai. For the sake of viewer convenience, the content is shown below in the alternative language. You may click the link to switch the active language.

บริษัทจำกัดจัดสรรเป็นทุนสำรองตามกฎหมายเฉพาะเมื่อมีการจ่ายเงินปันผล หากบริษัทจำกัดไม่มีการจ่ายปันผล ก็ไม่ต้องมีการจัดสรรทุนสำรอง แต่บริษัทมหาชนจำกัดต้องจัดสรรทุนสำรองจากกำไรสุทธิ แม้ไม่ประกาศจ่ายปันผล แต่ไม่จำเป็นต้องรอให้สำรองครบก่อนถึงจะสามารถจ่ายเงินปันผลได้

บริษัท อริยะ แท็กซ์ แอนด์ คอร์ปอแรท เซอร์วิส จำกัด

นิติบุคคล ปันผล ทุนสำรองตามกฎหมาย โทษ
บริษัทจำกัด ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผลจากเงินประเภทอื่นนอกจากเงินกำไร ถ้าหากบริษัทขาดทุน ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผลจนกว่าจะได้แก้ไขให้หายขาดทุนเช่นนั้น (มาตรา 1201) ทุกคราวที่แจกเงินปันผล บริษัทต้องจัดสรรเงินไว้เป็นทุนสำรองอย่างน้อยหนึ่งในยี่สิบส่วนของจำนวนผลกำไรซึ่งบริษัททำมาหาได้จากกิจการของบริษัท จนกว่าทุนสำรองนั้นจะมีจำนวนถึงหนึ่งในสิบของจำนวนทุนของบริษัทหรือมากกว่านั้น (มาตรา 1202)*สำหรับประมวลแพ่งระบุว่าทุนสำรองจะต้องมาจากกำไร (ไม่ได้เจาะจงว่ากำไรอะไร) บริษัทจำกัดใดจ่ายเงินปันผล
1. จ่ายปันผลโดยไม่มีมติที่ประชุมใหญ่ หรือที่ประชุมกรรมการ กรณีปันผลระหว่างกาล
2. จ่ายจากเงินอื่นนอกจากกำไร หรือไม่ได้หักขาดทุนสะสมก่อน
3. ไม่จ่ายให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่หรือกรรมการลงมติ
4. ไม่หักสำรองตามกฎหมาย
มีความผิดทางพินัยต้องชำระค่าปรับเป็นพินัยไม่เกินสองหมื่นบาท (มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจํากัด บริษัทจํากัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499)
บริษัทมหาชนจำกัด การจ่ายเงินปันผลจากเงินประเภทอื่นนอกจากเงินกำไรจะกระทำมิได้ ในกรณีที่บริษัทยังมียอดขาดทุนสะสมอยู่ ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผล(มาตรา 115) บริษัทต้องจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีส่วนหนึ่งไว้เป็นทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของกำไรสุทธิประจำปีหักด้วยยอดเงินขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าทุนสำรองนี้จะมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของทุนจดทะเบียน (มาตรา 116)

*พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัดระบุว่าทุนสำรองต้องมาจากกำไรสุทธิประจำปีอย่างชัดเจน

1. กรณีที่บริษัทจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยฝ่าฝืนมาตรา 115 มาตรา 116 หรือมาตรา 117 เป็นเหตุให้เจ้าหนี้ของบริษัทเสียเปรียบ เจ้าหนี้จะฟ้องผู้ถือหุ้นให้คืนเงินปันผลที่ได้รับไปแล้วก็ได้โดยต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติ แต่ผู้ถือหุ้นคนใดได้รับเงินปันผลไปแล้วโดยสุจริตจะบังคับให้คืนเงินมิได้ (มาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535)
2. การรับผิดตามมาตรา 118 ที่กล่าวในข้อ 1. กรรมการต้องรับผิดร่วมกันเพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดขึ้นแก่บริษัท เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าได้กระทำการโดยสุจริตและอาศัยหลักฐาน หรือรายงานทางการเงินที่ประธานกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่การเงินของบริษัท หรือผู้สอบบัญชีรับรองว่าถูกต้องแล้ว (มาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535)

Comments are closed.