ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 238 เดือนตุลาคม 2559

ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 238 เดือนตุลาคม 2559

หัวข้อเรื่อง

ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2560

สาระสำคัญ :

เนื่องด้วยคณะกรรมการค่าจ้างมีมติให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ใน 69 จังหวัด โดยแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็น 4 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 ไม่ปรับขึ้นค่าจ้าง ส่วนกลุ่มที่ 2 – 4 ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 305, 308, 310 บาทต่อวัน ตามลำดับ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานจะนำผลสรุปของคณะกรรมการค่าจ้างเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานก่อนนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนจะประกาศบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

กลุ่มจังหวัด ปรับขึ้น

(บาท)

จำนวน จังหวัด
กลุ่มที่ 1 8 สิงห์บุรี, ชุมพร, นครศรีธรรมราช, ตรัง, ระนอง, นราธิวาส, ปัตตานี และยะลา
กลุ่มที่ 2 5 49 จังหวัดอื่น ๆ นอกจากกลุ่มที่ 1, 3 และ 4
กลุ่มที่ 3 8 13 ขอนแก่น, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, ชลบุรี, ระยอง, สุราษฎร์ธานี, สงขลา, เชียงใหม่, สระบุรี, ฉะเชิงเทรา, กระบี่, พังงา และอยุธยา
กลุ่มที่ 4 10 7 กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร และภูเก็ต

หมายเหตุ :

ค่าจ้างขั้นต่ำ หมายถึง จำนวนเงินขั้นต่ำที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างสำหรับการทำงาน 1 วัน ในเวลาทำงานปกติ แม้ว่านายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานน้อยกว่าเวลาปกติเพียงใดก็ตาม นอกจากนี้ยังใช้กับลูกจ้างโดยไม่จำกัด เพศ วัย เชื้อชาติ และสัญชาติ นายจ้างที่จ่ายค่าจ้างในอัตราต่ำกว่านี้จะต้องปรับขึ้นค่าจ้างตามที่กำหนดสำหรับแต่ละท้องที่

อนึ่ง กรณีบุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะยื่นขอต่ออายุวีซ่า 1 ปี เพื่อธุรกิจ ลูกจ้างคนไทยในบริษัทที่บุคคลต่างด้าวประสงค์จะเข้าทำงานนั้น จะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งต้องแสดงใบแบบ ภงด.1 มิฉะนั้นทางสำนักตรวจคนเข้าเมือง จะไม่พิจารณาอนุญาตให้ขยายระยะเวลาตรวจลงตราวีซ่าเพื่อการธุรกิจ 1 ปี ให้บุคคลต่างด้าวดังกล่าว

กรอบแนวคิดแม่บทการบัญชี (conceptual framework for the preparation and presentation of financial statements)

สมัยก่อน เรามักจะได้ยินคำศัพท์คำว่า “หลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป (GAAP)” เป็นสิ่งที่แสดงให้ เห็นว่า เป็นหลักการบัญชีที่สร้างขึ้นจากวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปมาน (inductive approach)

วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปมาน (inductive approach) กำหนดหลักว่าให้สังเกตจากการปฏิบัติงานทางบัญชีก่อน แล้วจึงนำมาสร้างเป็นหลักการทั่วไปในช่วงแรก มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศก็ใช้วิธีนี้ในการกำหนดมาตรฐาน แต่ปรากฏว่าด้วยวิธีการปฏิบัติที่หลากหลาย ทำให้มาตรฐานการปฏิบัติทางบัญชีมีหลากหลายด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น วิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือซึ่งเดิมมีหลายวิธี เช่น วิธีเข้าก่อนออกก่อน วิธีเข้าหลังออกก่อน วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก เมื่อมีหลายวิธีให้เลือกปฏิบัติ จึงส่งผลให้งบการเงินดังกล่าวไม่สามารถเปรียบเทียบข้อมูลกันได้เนื่องจากมีการใช้วิธีการบัญชีหลายวิธี

ดังนั้นมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศจึงกำหนดหลักการขึ้นมาใหม่แทนหลักการเดิม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอนุมาน (deductive approach) วิธีนี้ให้กำหนดหลักการพื้นฐานก่อน แล้วกำหนดวิธีปฏิบัติทางบัญชีให้สอดคล้องกับหลักการ หากเป็นหลักการนี้แล้ว มาตรฐานการบัญชีเป็นมาตรฐานหนึ่งซึ่งให้ใช้กับเหตุการณ์อย่างหนึ่ง ทำให้ข้อมูลงบการเงินสามารถเปรียบเทียบกันได้

หลักการที่กล่าวถึงนี้คือแม่บทการบัญชี แม่บทการบัญชีเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการใช้ทำความเข้าใจมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ

มาตรฐานการบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (เรียกว่ามาตรฐานฯ SMEs)

ในมาตรฐานฯ SMEs ไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแม่บทการบัญชี แต่มีกำหนดเนื้อหาเหมือนกันแม่บทการบัญชีเรียกว่า “แนวคิดและหลักการโดยทั่วไป” (Concepts and Pervasive Principles) แต่ไม่ใช้ชื่อว่า “แม่บทการบัญชี” เนื่องจากแนวคิดที่ว่ามาตรฐานฯ SMEs เป็นส่วนหนึ่งของ IFRS โดยเนื้อแท้แล้วทั้งมาตรฐานฯ IFRS และมาตรฐานฯ SMEs เหมือนกัน ต่างกันตรงที่ความต้องการของผู้ใช้และการประเมินต้นทุนและประโยชน์ของการรายงานข้อมูลทางการเงิน (users’ needs and cost-benefit analysis) (IFRS for SMEs BC46) เท่านั้น ดังนั้น สิ่งที่ควรจะนำมาพิจารณาได้แก่ หลักการ (principles) ต่างๆ เกี่ยวกับการรับรู้รายการและการวัดมูลค่าของสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ ค่าใช้จ่าย ว่าสามารถทำให้ง่ายขึ้นได้อย่างไร (simplification) และในระดับไหน (BC16(c)) เพื่อใช้สำหรับมาตรฐานฯ SMEs

ขณะนี้เราทราบแต่เพียงว่ามาตรฐานฯ SMEs เป็นมาตรฐานฉบับอย่างง่ายหรือกะทัดรัดของ IFRS แต่ความเป็นจริงปรากฏว่า มาตรฐานฯ SMEs ในปัจจุบันเป็นฉบับแยกต่างหาก (Stand-alone) จากมาตรฐาน IFRS ทั้งที่ความตั้งใจจริงของ IASB ต้องการทำมาตรฐานให้เป็นชุดเดียว ไม่มีการแยกชุดเป็นชุดเล็กชุดน้อย แต่เมื่อมาตรฐานฯ SMEs ในปัจจุบันเป็นฉบับแยกต่างหาก (Stand-alone) เท่ากับว่าเกิดข้อขัดแย้งขึ้น และขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของ IASB ที่จะทำมาตรฐานการบัญชีให้เป็นหนึ่งเดียวสำหรับสากล (a single set of global accounting standards) ทั้งนี้ทาง IASB ก็ออกมายอมรับเช่นกันเกี่ยวกับเรื่องข้อขัดแย้งดังกล่าว (BC47)

ตรงนี้เป็นจุดอ่อนของเนื้อแท้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก(มาตรฐานฯ SMEs)

ในทางตรงกันข้าม มาตรฐานการบัญชีของเมืองไทยเป็นอย่างไร ลำดับแรก มาตรฐานการรายงานทางการเงินของกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (PAEs) อาจกล่าวได้ว่าส่วนใหญ่อ้างอิงมาจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (IFRS) ซึ่งมีแม่บทการบัญชี

สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะนั้น มีมาตรฐานต่างหากอีกฉบับหนึ่งคือ มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAE) แต่มาตรฐานฯ NPAE มีแม่บทการบัญชีต่างหาก ไม่เหมือนกับมาตรฐานฯ SMEs

การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม

เนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจชลอตัว จึงมีคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 65/2559 เรื่อง การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยยังคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นอัตราร้อยละ 7 ต่อไปอีก 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2559 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 2560 ตาม (ประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559)

ดัชนีความเคลื่อนไหวของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

กฎหมายภาษีอากรที่น่าสนใจ

พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 617) พ.ศ. 2559

พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 618) พ.ศ. 2559

พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 619) พ.ศ. 2559

พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 620) พ.ศ. 2559

คำชี้แจงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด สมาคมการค้า และหอการค้า ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 74/2557 เรื่อง การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2557

0706/พ./6060 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2546

ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการในราชอาณาจักร

Comments are closed.

.