Topix
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานใหม่ในการเกษียณอายุ
- เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2560 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่…) พ.ศ. … ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา เพื่อเสนอต่อสภานิติบัญญัติต่อไป โดยมีสาะสำคัญ คือ
- เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการให้อำนาจคณะกรรมการค่าจ้างกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับกลุ่มลูกจ้างต่างๆ
- ยกเลิกบทบัญญัติในมาตรา 108 ที่นายจ้างต้องส่งสำเนาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้แก่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
- เพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา 118/1 ให้การเกษียณอายุเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้าง และในกรณีที่นายจ้างมิได้ตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุลูกจ้างไว้ ให้ลูกจ้างเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
- เพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา 144 กำหนดโทษสำหรับนายจ้างที่ฝ่าฝืนไม่จ่ายค่าชดเชยเพราะเหตุเกษียณอายุ
- ในเรื่องการเกษียณอายุ เนื่องด้วยกฎหมายคุ้มครองแรงงานในปัจจุบันไม่ได้กำหนดว่าการเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้าง นายจ้างจึงอาจให้ค่าชดเชยหรือไม่ก็ได้ตามที่ตกลงกัน แต่ถ้ากฎหมายคุ้มครองแรงงานใหม่มีผลใช้บังคับ ให้การเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเพระเหตุเกษียณอายุทุกกรณี หากนายจ้างไม่จ่ายจะมีความผิดและได้รับโทษตามมาตรา 144 ใหม่ แต่ถ้านายจ้างต้องการจ้างให้ลูกจ้างที่เกษียณอายุทำงานต่อไป นายจ้างต้องจ่ายสวัสดิการตามข้อตกลงเดิมที่ลูกจ้างพึงได้รับ
คุ้มครองแรงงานกฎหมายใหม่เกี่ยวกับการจ้างงานเด็ก
- พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2560 กำหนดเพิ่มเติมความผิดและโทษของการใช้แรงงานเด็ก ดังนี้
- มาตรา 144 วรรคหนึ่ง ได้แก้ไขเพิ่มเติมเป็น มาตรา 144 (1) (2) (3) โดยมาตรา 144 (1) (2) คงเนื้อหาเดิมตามมาตรา 144 วรรคหนึ่งเดิม และได้เพิ่มความผิดเกี่ยวกับการจ้างเด็กอายุต่ำกว่าที่กฎกระทรวงกำหนดทำงานในบางลักษณะในมาตรา 144 (3)
- มาตรา 148 ที่แก้ไขใหม่ กำหนดเฉพาะการฝ่าฝืนมาตรา 31 เท่านั้น ต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ส่วนการฝ่าฝืนมาตรา 44 เรื่องการจ้างเด็กต่ำกว่า 15 ปี หรือต่ำกว่าที่กฎกระทรวงกำหนดมีการเพิ่มเติมโทษในมาตรา 148/1 ใหม่ คือ นายจ้างต้องรับโทษปรับตั้งแต่ 400,000 – 800,000 บาท ต่อลูกจ้าง 1 คน หรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
- การฝ่าฝืนมาตรา 49 หรือมาตรา 50 เรื่องการจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในบางลักษณะ มีการเพิ่มเติมโทษในมาตรา 148/2 ใหม่ คือ โดยหลัก นายจ้างต้องรับโทษอัตราเดียวกับ มาตรา 148/1 แต่หากการกระทำความผิดของนายจ้างทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ นายจ้างต้องรับโทษหนักขึ้น คือ ปรับตั้งแต่ 800,000 – 1,000,000 บาท ต่อลูกจ้าง 1 คน หรือจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
ระยะเวลาที่จำกัดสำหรับการขอวีซ่าท่องเที่ยว
- กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 กำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ในมาตรา 13 วรรค 3 ว่า ผู้เข้ามาในประเทศไทยชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวทางช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือด่านพรมแดนที่ติดต่อกันทางบก ให้เข้ามาในประเทศไทยไม่เกิน 2 ครั้งต่อปีปฏิทิน ยกเว้นบุคคลสัญชาติมาเลเซียที่อาจเข้ามาเกิน 2 ครั้งต่อปีปฏิทินก็ได้
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนขึ้นอยู่กับขนาดของโครงการ
- คำสั่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2560 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจและหน้าที่ของคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการ กำหนดให้คณะอนุกรรมการมีอำนาจอนุมัติ ดังนี้
- โครงการที่มีขนาดการลงทุนตั้งแต่ 200 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 2,000 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
- โครงการที่ผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก และมีขนาดการลงทุนเกิน 2,000 ล้านบาท (ไม่รวมค่าดินและทุนหมุนเวียน)
- การปรับปรุงแก้ไข การกลั่นกรองการส่งเสริมการลงทุน และการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมทางภาษีที่มีมูลค่าไม่เกิน 10% ของมูลค่าที่ได้รับอนุมัติ สำหรับกโครงการที่มีขนาดการลงทุนเกิน 2,000 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
- การขยายเวลาการดำเนินการ สำหรับโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนทุกขนาด
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน
- ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนในปี 2560 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
- ยกเลิกมาตรา 7 วรรค 3, มาตรา 20 (4) และ (18)
- เพิ่มเติมมาตรา 11/1 ให้คณะกรรมการประเมินผลการส่งเสริมการลงทุนอย่างน้อยทุก 2 ปี เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการติดตาม ประเมินผลงาน และการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
- เพิ่มเติมมาตรา 13/1 การมอบหมายให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ตรวจสอบ ควบคุม ประเมินผลการส่งเสริม และการใช้สิทธิประโยชน์ แทนสำนักงานส่งเสริมการลงทุน
- แก้ไขมาตรา 16 วรรค 3 เรื่องกิจการที่จะให้การส่งเสริมการลงทุน โดยไม่รวมกิจการผลิตเพื่อส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ
- เพิ่มเติมมาตรา 30/1 ให้ผู้ได้รับการส่งเสริมได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อวิจัยและพัฒนา
- เพิ่มเติมมาตรา 31/1 ให้ผู้ได้รับการส่งเสริมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิไม่เกิน 13 ปี สำหรับกิจการที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง
- เพิ่มเติมมาตรา 31/2 ถ้าผู้ได้รับการส่งเสริมไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สามารถหักเงินที่ใช้ในการลงทุนไม่เกิน 70% ของกำไรสุทธิภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีรายได้จากการประกอบกิจการ
- แก้ไขมาตรา 32 โดยคณะกรรมการมีอำนาจพิจารณาให้กิจการตามมาตรา 31 และมาตรา 31/1 อาจไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือได้รับการลดหย่อนในอัตราไม่เกิน 50% ของอัตราปกติ และมีกำหนดเวลาไม่เกิน 10 ปี
- เพิ่มเติมมาตรา 32/1 การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิให้เป็นไปตามประมวลรัษฎากร
- แก้ไขมาตรา 34 ให้กิจการตามมาตรา 31 และมาตรา 31/1 ได้รับยกเว้นเงินปันผล
- แก้ไขมาตรา 36 ให้ผู้ได้รับการส่งเสริมที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและขาออกตามมาตรา 36 (1) (2) และ (3) ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด โดยไม่ใช้กฎหมายพิกัดอัตราศุลกากรกับกรณีนี้ และยกเลิกมาตรา 36(4)
การเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันของเป้าหมายพระราชบัญญัติการประกอบกิจการ
- ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 มีการตราพระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
- อุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ อุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพของประเทศ สร้างประโยชน์อย่างสูงต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ และสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างยั่งยืน ซึ่งต้องเป็นอุตสาหกรรมประเภทใหม่ที่ไม่เคยมีการผลิตหรือการให้บริการในประเทศมาก่อน หรือเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีใหม่หรือใช้ความรู้ในการผลิตขั้นสูงเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรม
- ผู้ประกอบกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมายต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายไทย
- สิทธิและประโยชน์ที่อุตสาหกรรมเป้าหมายได้รับ เช่น
- สิทธิและประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน เช่น สิทธิและประโยชน์ในเครื่องจักร วัตถุดิบและวัสดุจำเป็น แต่ไม่รวมสิทธิและประโยชน์การยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล
- การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ ไม่เกิน 15 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ
- การได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนตามการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบาย เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการลงทุน การวิจัยและการพัฒนา
- นำผลขาดทุนประจำปีไปหักออกจากกำไรสุทธิไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
- การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิให้เป็นไปตามประมวลรัษฎากร
- เงินปันผลจากกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตลอดระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
อธิบายบัญชีการปันส่วนภาษี P/L approach ตอนที่ 3 (วิธีการลงบัญชี)
อธิบายบัญชีการปันส่วนภาษี P/L approach ตอนที่ 4 (อัตราภาษีและหลักเกณฑ์สิทธิ)
Index of legal movement in relation to business
Interested tax news
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1762/2559
พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 630) พ.ศ. 2560
กฎกระทรวง ฉบับที่ 324 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 282)
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.154/2559
ภาษีเงินได้นิติบุคคล การพิจารณาเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4) และกรณีคำนวณรายได้รายจ่าย ตามมาตรา 65 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.155/2560
หลักเกณฑ์การจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป
กค 0702/8336 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2559
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายค่าสิทธิไปต่างประเทศ
กค 0702/พ./10011 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2559
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ