Topix
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ 76 ฉบับเกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2560 ได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 287 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามมาตรา 48 (5) และมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร มายกเลิกข้อ (ข) ของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 45 และ 73 แล้วแก้ไขเพิ่มเติมโดยเพิ่มชื่อของกองทุน จากเดิมระบุให้เงินได้พึงประเมิน คือ เงินที่จ่ายจาก (1) กองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (2) กองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ในปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นอีก 1 กองทุน คือ (3) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเกิดจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
นอกจากนี้ในวันเดียวกัน ยังมีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 288 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ได้กำหนดข้อ 7/1 เพิ่มเติมจากประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 171 โดยกำหนดให้ผู้มีเงินได้ที่ได้หน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพมาจากการโอนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งไม่ใช่การได้มาจากการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไม่เกินร้อยละ15 ของเงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น ตามข้อ 7
แก้ไขเพิ่มเติมความผิดภาษีอากรในประมวลรัษฎากรที่ถือเป็นความผิดตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2560 มีการออกพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 45) พ.ศ. 2560 ให้เพิ่มมาตรา 37 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร โดยกำหนดความผิดภาษีอากรที่รวมอยู่ในความผิดมูลฐานของกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กล่าวคือ
- ความผิดเกี่ยวกับจำนวนภาษีอากรที่หลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงตามมาตรา 37 มาตรา 37 ทวิ และมาตรา 90/4 ตั้งแต่สิบล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป
- ความผิดเกี่ยวกับจำนวนภาษีอากรที่ขอคืนโดยความเท็จโดยฉ้อโกงหรืออุบาย ตั้งแต่สองล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป
- ความผิดเกี่ยวกับการสร้างธุรกรรมอันเป็นเท็จ หรือปกปิดเงินได้พึงประเมินหรือรายได้ และปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด
ซึ่งอธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองความผิดทางภาษีอากรมีอำนาจพิจารณากลั่นกรองความผิดและส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากประเทศไทยในฐานะสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง Asia Pacific Group on Money Laundering (APG) มีเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ (Terms of References) ที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำของ Financial Action Task Force (FATF) ในการกำหนดให้อาชญากรรมเกี่ยวกับภาษีอากรที่มีลักษณะร้ายแรงเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และเพื่อให้เป็นไปตามเหตุผลดังกล่าว อีกทั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปราบปรามการหลีกเลียงและการฉ้อโกงภาษีอากร สมควรกำหนดให้การกระทำความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีอากรและการฉ้อโกงภาษีอากรที่มีลักษณะเป็นอาชญากรรมร้ายแรงเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
อธิบายเกี่ยวกับบัญชีการปันส่วนภาษีจากแนวคิด B/S approach
8. อธิบายเกี่ยวกับบัญชีการปันส่วนภาษีจากแนวคิด B/S approach
8.1 คำนิยามบัญชีการปันส่วนภาษีจากแนวคิด B/S approach
ช่วงต่อจากนี้จะอธิบายบัญชีการปันส่วนภาษีจากแนวคิด B/S approach ซึ่งมาตรฐานฯSMEsนำมาใช้ (หรือมาตรฐานฯ IFRSs ก็เช่นเดียวกัน) แนวคิดเกี่ยวกับ “บัญชีการปันส่วนภาษี”ที่นำมาใช้ผลสุดท้ายแล้วไม่ได้มีความแตกต่างจากบัญชีการปันส่วนภาษีแนวคิด P/L approach แต่แค่มีวิธีคิดต่างกัน กล่าวคือ B/S approach จะไม่คำนึงถึงงบกำไรขาดทุนแต่คำนึงถึงงบแสดงฐานะการเงินเท่านั้น อันที่จริงแล้ว แนวคิด B/S approach ไม่ได้จำกัดเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับบัญชีการปันส่วนภาษีเท่านั้นแต่เป็นความคิดพื้นฐานที่ IFRS ได้นำมาใช้อย่างกว้างขวาง ผู้เขียนคิดว่าหากเราเข้าใจบัญชีการปันส่วนภาษีจากแนวคิด B/S approach และเข้าใจความแตกต่างของบัญชีการปันส่วนภาษีจากแนวคิด P/L approach แล้ว จะทำให้เราเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของมาตรฐานฯ SMEs ได้ดียิ่งขึ้น
คำอธิบายของบัญชีการปันส่วนภาษีของ Wikipedia ในฉบับภาษาญี่ปุ่นคือ “กรณีมีผลต่างระหว่างจำนวนเงินของสินทรัพย์และหนี้สินทางบัญชีการเงินกับบัญชีภาษีอากร การปันส่วนจำนวนเงินภาษีเงินได้ตามระยะเวลาอย่างเหมาะสมเป็นขั้นตอนทางบัญชีซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้กับกำไรสุทธิก่อนภาษีอย่างสมเหตุสมผล”
ส่วนคำอธิบายของบัญชีภาษีเงินได้ (deferred tax) ของมาตรฐานฯSMEs ระบุว่า “ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีคือภาษีที่จะต้องชำระหรือสามารถขอคืนได้ในงวดอนาคต (tax recoverable or payable) อันเป็นผลมาจากการได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์หรือการชำระหนี้สินสำหรับมูลค่าตามบัญชีปัจจุบัน (as a result of the entity recovering or settling its assets and liabilities for their current carrying amount) และผลกระทบทางภาษีจากผลขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ในปัจจุบันยกไปและเครดิตภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ยกไป (SME2015 ย่อหน้า 29.2)
จริงๆแล้วมาตรฐานฯ IFRSsไม่ได้กำหนดคำนิยามของคำว่า “การปันส่วนภาษี tax allocation”ไว้ คำว่า “ผลกระทบทางภาษี” ก็ถูกนำมาใช้แค่ในประโยคช่วงหลังเท่านั้นเอง ในมาตรฐานฯ SMEs ก็ไม่ค่อยได้มีการกล่าวถึงคำนี้ด้วย คงเป็นเพราะว่ามาตรฐานฯ IFRSs ใช้คำว่า “บัญชีภาษีเงินได้ deferred tax” แทนคำว่า “การปันส่วนภาษี tax allocation”
ก่อนอื่น ขอให้ระวังว่าแนวคิดเกี่ยวกับการปันส่วนภาษีเงินได้ไปรอบระยะเวลาอื่นนั้นไม่มีการกล่าวถึงแต่อย่างใดในมาตรฐานฯ SMEs บทที่ 29 เรื่อง “ภาษีเงินได้” ไม่มีคำว่า “การปันส่วนทางเวลา” เนื่องจากเป็นแนวคิด B/S approach ในคำอธิบายของแนวคิด P/L approach จะอธิบายว่า “ วิธีการปฏิบัติทางบัญชีในการบันทึกภาษีเงินได้จากตัวเลขกำไรก่อนภาษีเป็นวิธีบัญชีการปันส่วนภาษี” จากแนวคิดดังกล่าวนี้เป็นวิธีการอย่างหนึ่งของ “หลักการจับคู่รายได้และค่าใช้จ่าย” แต่มาตรฐานฯ IFRSs เลือกใช้แนวคิด B/S approach ซึ่งหลักการจับคู่รายได้และค่าใช้จ่ายไม่ใช่หลักการบัญชีของแนวคิด B/S approach แต่ “หลักการจับคู่รายได้และค่าใช้จ่าย” เป็นมาตรฐานการบัญชีแบบดั้งเดิม ในมาตรฐานฯ IFRSs จะมีการระบุถึงเรื่องหลักการนี้ก็คงมีเพียงแค่ “บัญชีสำหรับสัญญาก่อสร้าง” เท่านั้น
ตรงประโยคที่ขีดเส้นใต้เป็นคำอธิบายจากจุดยืนของ B/S approach ประโยคดังกล่าวอาจจะเข้าใจยากอยู่ แต่ตรงนี้เป็นประเด็นที่สำคัญ หากผู้อ่านเข้าใจก็แสดงว่าผู้เขียนประสบความสำเร็จตามเจตนาที่ต้องการจะอธิบาย
8.2 ตัวอย่างแนวคิด B/S approach
เนื่องจากเป็นแนวคิด B/S approach จึงใช้ตัวอย่างเดิมแต่เปลี่ยนเป็นคำอธิบายในรูปแบบ B/S approach รูปแบบตัวอย่างเหมือนแนวคิด P/L approach แต่ลองอธิบายโดยใช้แนวคิด B/S approach การบันทึกบัญชีจะเป็นอย่างไร และจะอธิบายด้วยวิธีแบบไหนเรามาลองกันดู
ตัวอย่าง บริษัทอริยะ เป็นบริษัทผู้ผลิต ในรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด 31/12/2017 เรียกย่อว่า “ปี 2017” พบว่าเครื่องจักรของบริษัทที่มีอยู่เกิดการเสื่อมสภาพจึงปรับมูลค่าทางบัญชีให้เท่ากับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ผลลัพธ์คือต้องมีการบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่า 200 บาท หลังจากนั้นเครื่องจักรดังกล่าวนี้ได้ถูกขายออกไปในปี 2019 โดยราคาที่ขายได้นั้นเท่ากับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนซึ่งประมาณไว้ในปี 2017 อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 20 รายการค่าใช้จ่ายและรายได้อื่นๆยกเว้นรายการขาดทุนจากการด้อยค่าข้างต้นเป็นรายการที่ไม่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงทางภาษีอากรใดๆเพื่อให้ง่ายในการทำความเข้าใจ ค่าเสื่อมราคาก็ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงด้วยเช่นกัน จำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คำนวณนี้ยังไม่ได้คำนึงถึงเรื่องบัญชีการปันส่วนภาษี โดยจะบันทึกด้วยจำนวนภาษีที่จะนำส่ง(หรือคาดว่าจะนำส่ง)ตามหลักของบัญชีภาษีอากร
แสดงฐานะการเงินแยกแต่ละปี | 2017 | 2018 | 2019 |
---|---|---|---|
①เงินสด | 500 | 840 | 700 |
②ลูกหนี้การค้า | 400 | 500 | 600 |
③เครื่องจักร | 100 | 100 | 0 |
④ที่ดิน | 900 | 900 | 900 |
รวม | 1,900 | 2,340 | 2,200 |
⑤เจ้าหนี้ | 800 | 1,200 | 780 |
⑥ภาษีเงินได้ค้างจ่าย | 60 | 20 | 20 |
⑦ทุน | 1,000 | 1,000 | 1,000 |
⑧กำไรสะสม | 40 | 120 | 400 |
รวม | 1,900 | 2,340 | 2,200 |
ลำดับแรกคือ ขาดทุนจากการด้อยค่าของเครื่องจักรจำนวน 200 ในปี 2017 เราทำการปรับปรุงรายการบัญชีที่เรียกว่า “ขาดทุนจากการด้อยค่า” แต่ไม่มีผลกระทบกับเงินได้พึงประเมินทางภาษีอากร ซึ่งเป็นคำอธิบายจากแนวคิด P/L approach กล่าวคือ เมื่อบันทึกรายการบัญชีนี้จะไม่มีผลกับจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องนำส่งแต่จะมีผลกับจำนวนภาษีเงินได้ในอนาคต หรืออาจกล่าวได้ว่า ตอนขายเครื่องจักรในปี 2019 ทางบัญชีภาษีอากรจะบันทึกผลขาดทุนจากการด้อยค่า เงินได้พึงประเมินในปี 2019 หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กำไรสุทธิทางภาษีจะน้อยกว่ากำไรทางบัญชีการเงิน ทำให้ภาษีเงินได้ลดลงเนื่องจากผลกระทบของรายการขาดทุนจากการด้อยค่านี้ ผู้อ่านคิดยังไงกับผลกระทบเช่นนี้
ขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้ ทางบัญชีการเงินปี 2019 (ปี 2017 เกิดการด้อยค่าของสินทรัพย์จึงลดมูลค่าทางบัญชีลง) ไม่เกิดค่าใช้จ่ายใดๆขึ้น ผลขาดทุน 200 จากการขายเครื่องจักรเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีอากรดังนั้นจึงทำให้ภาษีเงินได้ที่ต้องนำส่งลดลง กล่าวคือประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่จะออกจากกิจการลดลง มีค่าเท่ากับทำให้เงินสดเข้าสู่กิจการหรือประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเข้าสู่กิจการ
ตามตัวอย่างนี้ ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจะเข้าสู่กิจการในปี 2019 ซึ่งเป็นเรื่องของอนาคต(เมื่อมองจากปี2017) เหตุการณ์ทางบัญชีดังกล่าวไม่ได้มีสาเหตุมาจากการขายสินทรัพย์ออกไปในปี 2019 แต่เป็นเพราะได้มีการรับรู้รายการขาดทุนจากการด้อยค่าแล้วในปี 2017
ดังนั้น ในปี 2017 “เมื่อมีทรัพยากรที่คาดว่าจะทำให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจะเข้าสู่กิจการ” ก็อาจกล่าวได้ว่า “สินทรัพย์ดังกล่าวจำเป็นต้องรับรู้ในงบแสดงฐานะการเงิน” ซึ่งเป็นแนวคิดของ B/S approach
เราลองใช้ข้อมูลดังกล่าวมาอธิบายเกี่ยวกับมาตรฐานฯ SMEs
มาตรฐานฯSMEs ข้อ 29.8 ระบุว่า “ภาษีเงินได้ที่กิจการจะได้รับหรือต้องจ่ายชำระ(tax recoverable or payable)ในงวดอนาคตซึ่งเป็นผลมาจากรายการหรือเหตุการณ์ในอดีต กิจการจะต้องรับรู้สินทรัพย์หรือหนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี” กล่าวคือ เนื่องจากเหตุการณ์ในอดีต(as a result of past events) ซึ่งในกรณีนี้คือการรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ทำให้กิจการจะได้รับภาษีเงินได้(tax recoverable) หรือเป็นการประหยัดภาษีในอนาคต จึงต้องบันทึกเป็นสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีด้วยจำนวน 40
วิธีการบันทึกบัญชีแสดงได้ดังนี้ ซึ่งเหมือนกับวิธีแนวคิด P/L approach
ปี 2017 | ||
---|---|---|
Dr. | สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี(Deferred tax assets) | 40 |
Cr. | ภาษีเงินได้(Deferred tax) | 40 |
ด้านเครดิตใช้ชื่อบัญชีว่า “Deferred tax” ตามมาตรฐานฯ SMEs
ดัชนีความเคลื่อนไหวของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
กฎหมายภาษีอากรที่น่าสนใจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5808/2557
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 624) พ.ศ. 2560
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 625) พ.ศ. 2560
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 626) พ.ศ. 2560
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 627) พ.ศ. 2560
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 628) พ.ศ. 2560
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 631) พ.ศ. 2560
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 632) พ.ศ. 2560
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 633) พ.ศ. 2560
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช่จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 634) พ.ศ. 2560
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 638) พ.ศ. 2560
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 283)
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ประกอบกิจการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 284)
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ สำหรับกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย
คําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 40/2560
เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร และค่าปรับอาญา ตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร
กค 0702/9233 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559
ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ