ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 258 เดือนมิถุนายน 2561
ดัชนีความเคลื่อนไหวของ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
Topix
การแก้ไขเพิ่มเติมประมวล รัษฎากรเรื่องการกำหนดราคาโอน
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2561 คณะรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ …) พ.ศ. … ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเตรียมพิจารณาในวาระที่ 1 เพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกรณีการกำหนดราคาในการโอนทรัพย์สิน การให้บริการ หรือการให้กู้ยืมเงิน ระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน ว่าสมควรให้มีความแตกต่างจากการกำหนดราคาโอน ระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ดำเนิน การโดยอิสระอย่างไร เพื่อมิให้การถ่ายโอนกำไรระหว่างนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ก่อให้เกิดการหลีกเลี่ยง ภาษีอากร โดยร่างพระราชบัญญัติมีสาระสำคัญดังนี้
- ร่างมาตรา 71 ทวิ วรรคหนึ่ง กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันและ มีข้อกำหนดด้านพาณิชย์หรือการเงินระหว่างกัน เพื่อให้จำนวนรายได้และรายจ่ายมีจำนวนเช่นเดียวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ดำเนินการโดยอิสระ
อธิบดีกรมสรรพากรจะออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ กัน (ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ) โดยมีเรื่องดังนี้ (1) กำหนดนิยามคำว่า “ธุรกรรมที่ถูกควบคุม” “ธุรกรรมที่ไม่ถูกควบคุม” “ข้อกำหนดของธุรกรรม” “ข้อตกลงการกำหนดราคาเป็นการล่วงหน้า” (2) กำหนดการพิจารณาข้อกำหนดของธุรกรรมระหว่างนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันโดยอาศัย หลัก Arm’s Length (3) กำหนดลักษณะของธุรกรรมที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ (4) กำหนดวิธีการคำนวณราคา (5) กำหนดการคำนวณหาช่วงราคาที่พึงกำหนดหากนิติบุคคลที่ถูกตรวจสอบนั้นได้ดำเนินการโดย อิสระ (6) กำหนดให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินปรับปรุงรายได้และรายจ่ายหากพบว่าธุรกรรมของ นิติบุคคลนั้นไม่อยู่ในช่วงราคาที่พึงกำหนด (7) กำหนดให้นิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันภายใต้อนุสัญญาภาษีซ้อน สามารถยื่นขอให้กรมสรรพากรที่ไทยและที่ต่าง ประเทศจัดทำข้อตกลงการกำหนดราคาเป็นการล่วง หน้า (8) กำหนดข้อกำหนดของธุรกรรมพิเศษ
- ร่างมาตรา 71 ทวิ วรรคสอง กำหนดนิยามให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) นิติบุคคลที่ถือหุ้นในอีกนิติบุคคลหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด หรือ
(2) ผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นในนิติบุคคลหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด ถือหุ้นในอีกนิติบุคคลหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด หรือ
(3) นิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านทุน การจัดการ หรือการควบคุม ในลักษณะที่นิติบุคคลหนึ่งไม่อาจดำเนินการได้โดยอิสระจากอีกนิติบุคคลหนึ่ง
- ร่างมาตรา 71 ทวิ วรรคสาม กำหนดให้ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ปรับปรุงรายได้และรายจ่ายตามการประเมินของ เจ้าพนักงานประเมิน และได้ชำระภาษีพร้อมนำส่งภาษีเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียหรือไม่มีหน้าที่ ต้องเสีย สามารถยื่นคำร้องขอคืนภาษีภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายของกำหนดเวลายื่นรายการภาษี หรือภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการปรับปรุงนั้นจากเจ้าพนักงานประเมินเป็นหนังสือ
- ร่างมาตรา 71 ตรี วรรคหนึ่ง กำหนดว่า ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความ สัมพันธ์ระหว่างกัน จัดทำรายงานเสนอข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ่นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ กัน และมูลค่าของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
อธิบดีกรมสรรพากรจะออกกฎกระทรวง (ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ)กำหนดฐานรายได้ของบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่อยู่ในบังคับต้องยื่น รายงานข้างต้น และออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ เรื่องกำหนดแบบของรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีความสัมพันธ์กัน และหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการจัดทำและยื่นเอกสารสำหรับการวิเคราะห์ข้อกำหนดของธุรกรรมระหว่างบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนที่มีความสัมพันธ์กัน (ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงตามมาตรา 71 ทวิ และมาตรา 71 ตรี ข้างต้นมีผลใช้บังคับ)
ร่างมาตรา 71 ตรี วรรคสาม กำหนดว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำใน รอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง ไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาทและไม่เกินจำนวนตามที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา 71 ตรี ไม่มีหน้าที่ต้องจัดทำรายงาน
- ร่างมาตรา 71 ตรี วรรคสอง กำหนดว่า เจ้าพนักงานประเมินโดยอนุมัติจากอธิบดี อาจส่งหนังสือแจ้งความให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันยื่น เอกสารหรือหลักฐานแสดงข้อมูลที่จำเป็นสำหรับ การวิเคราะห์ข้อกำหนดของธุรกรรมระหว่างกันได้ ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีความสัมพันธ์กัน และนิติบุคคลนั้นต้องปฏิบัติตามภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความ หรือหากมีเหตุจำเป็นอธิบดีสามารถขยายกำหนดเวลายื่นได้ แต่ต้องไม่เกิน 120 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความ
- ร่างมาตรา 35 ตรี กำหนดว่า นิติบุคคลที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 71 ตรี หรือยื่นรายงาน เอกสารหรือหลักฐานที่กำหนดในมาตรา 71 ตรี โดยแสดงข้อมูลไม่ครบถ้วนถูกต้องและไม่มีเหตุผลอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท
- ร่างพระราชบัญญัติยังกำหนดว่า หลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับการกำหนดราคาโอนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน มีผลใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่ม ในหรือหลังจากวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป
ร่างพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการใช้แรงงานบังคับ
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติป้องกันและขจัดการใช้แรงงานเกณฑ์ หรือแรงงานบังคับ พ.ศ. … ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และขณะนี้กำลังอยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่
- กำหนดนิยาม “แรงงานเกณฑ์หรือแรงงานบังคับ” หมายถึง งานหรือบริการทุกชนิด ซึ่งเกณฑ์เอาบุคคลใด ๆ มาทำงานโดยมิได้สมัครใจที่จะทำเอง โดยขู่เข็ญหรือลงโทษบุคคลนั้น
- กำหนดลักษณะของความผิดฐานใช้แรงงานเกณฑ์หรือแรงงานบังคับ คือ การกระทำโดยทุจริตบีบบังคับหรือข่มขืนใจ ให้บุคคลอื่นทำงานหรือให้บริการโดยมิได้สมัครใจให้กับตนหรือบุคคลที่สาม ประกอบกับมีการข่มขู่ ขู่เข็ญว่าจะลงโทษโดยมิชอบ หรือใช้กำลังประทุษร้าย และใช้บทลงโทษ หรือมาตรการทางวินัย หรือมาตรการตัดสิทธิประโยชน์อื่นใด โดยไม่เป็นธรรม เช่น การยึดเอกสารสำคัญประจำตัวของบุคคลนั้นไว้ การนำภาระหนี้ของบุคคลนั้นหรือบุคคลอื่นมาเป็นสิ่งผูกมัดโดยมิชอบ ซึ่งทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถขัดขืนได้หรือไม่ สมัครใจที่จะทำเอง
(โปรดสังเกตว่า ให้พิจารณาความผิดฐานการค้ามนุษย์ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 เสียก่อน หากไม่ใช่ความผิดฐานการค้ามนุษย์ ก็ให้ถือว่าเป็นความผิดฐานใช้แรงงานเกณฑ์หรือแรงงานบังคับ)
- กำหนดมาตรการป้องกันและขจัดปัญหาการใช้แรงงานบังคับ และการช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสีย หายจากการถูกใช้เป็นแรงงานเกณฑ์หรือแรงงาน บังคับ โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ (เช่น ตำรวจ) ตรวจตัวบุคคล หรือค้นยานพาหนะ หรือเข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ ที่มีเหตุเชื่อว่ามีพยานหลักฐานในการใช้แรงงานบังคับ และให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย เช่น ตำรวจจัดหาที่พักอาศัยชั่วคราว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานผ่อนผันผู้เสียหายที่เป็นคนต่างด้าวให้อยู่ในราช อาณาจักรและได้รับอนุญาตให้ทำงานเป็นการชั่ว คราว พนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายตามกฎหมาย (เช่น สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน)
- กำหนดบทลงโทษให้เหมาะสมกับการกระทำความผิดแต่ละกรณี เช่น กระทำความผิดต่อเด็ก หญิงมีครรภ์ ผู้มีการพิการหรือจิตฟั่นเฟือน ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสหรือเป็นโรคร้ายแรงตลอดชีวิต หรือถึงแก่ความตาย และกำหนดให้กรรมการ ผู้จัดการ ที่มีดำเนินการแทนนิติบุคคลต้องร่วมรับผิดกับนิติบุคคลนั้นด้วย
กฎหมายภาษีอากรที่น่า สนใจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7146-7147/2559
การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ต่ำกว่า มูลค่าตามบัญชี เป็นการโอนต่ำกว่าราคาตลาดหรือไม่
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่ม เติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19 ) พ.ศ.2561
พระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 655) พ.ศ.2561
พระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 656) พ.ศ.2561
พระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้น รัษฎากร (ฉบับที่ 657) พ.ศ.2561
พระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 658) พ.ศ.2561
พระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 659) พ.ศ.2561
กฎกระทรวงการกำหนดและการ ใช้ราคาศุลกากรพ.ศ. 2560
กค 0702/2670 ลงวันที่ 2 เมษายน 2561
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 604) พ.ศ.2559
กค 0702/2672 ลงวันที่ 2 เมษายน 2561
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเก็บเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.120/2545