ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 262 ตุลาคม 2561

ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 262 ตุลาคม 2561

ดัชนีความเคลื่อนไหวของ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

Topix

สภานิติบัญญัติเห็นชอบ การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรเรื่องการกำหนด ราคาโอน

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2561 คณะกรรมาธิการวิสามัญของสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ …) พ.ศ. … และเห็นชอบให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มี ความสัมพันธ์ระหว่างกันได้กำหนดราคาในการโอน ทรัพย์สิน การให้บริการ หรือการให้กู้ยืมเงินระหว่างกัน แตกต่างจากที่ควรได้กำหนดหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้ดำเนินการ โดยอิสระ โดยเห็นชอบให้มีการเพิ่มมาตรา 35 ตรี มาตรา 71 ทวิ และมาตรา 71 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีจะรอเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้ 5 วัน ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ พระมหากษัตริย์ภายใน 20 วัน นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ร่างพระราชบัญญัตินี้จะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป

    จากร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรที่มีการนำเสนอในข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 258 เดือนมิถุนายน 2561 คณะกรรมการวิสามัญได้พิจารณา ดังนี้

  1.     ร่างมาตรา 71 ทวิ วรรคหนึ่ง เพิ่มวัตถุประสงค์ของการทำธุรกรรม (ซื้อขาย บริการ กู้ยืมเงิน) ว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันที่ดำเนินการโดยอิสระ ทำธุรกรรมในลักษณะที่เชื่อได้ว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นทำการถ่ายโอนกำไรระหว่างกัน
  2.     ร่างมาตรา 71 ตรี วรรคสาม เปลี่ยนแปลงจำนวนรายได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องจัดทำรายงานข้อมูล เกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ มีความสัมพันธ์กัน “จากจำนวนรายได้ไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท” เปลี่ยนเป็น “จากจำนวนรายได้ไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท” นอกจากนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรายได้ 200 ล้านบาท หรือน้อยกว่า 200 ล้านบาท ควรต้องจัดทำเอกสารอื่นใดที่ไม่ใช่รายงานดังกล่าวหรือไม่ ทางกรมสรรพากรจะชี้แจงรายละเอียดต่อไป
  3.     ร่างมาตรา 71 ตรี วรรคสอง ได้เพิ่มข้อความสำหรับการยื่นรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีความสัมพันธ์กันว่า เฉพาะกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับหนังสือแจ้งความเป็นครั้งแรก บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้อง ปฏิบัติตามหนังสือแจ้งความภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความ กล่าวคือ ถ้าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับหนังสือแจ้งความครั้งแรก จะต้องยื่นรายงานข้อมูลให้แก่เจ้าหน้าที่ภายใน 180 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความ แต่ถ้าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับหนังสือแจ้งความเป็นครั้งที่สองขึ้นไป จะต้องยื่นรายงานข้อมูลให้แก่เจ้าหน้าที่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความ
  4.     การจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาโอน (TP documentation) ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลภายในประเทศ (Local file) และเอกสารกำหนดราคาโอนของกลุ่มบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (Master file) เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะเป็นประโยชน์กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในการบริหารจัดการ
  5.     เอกสารการรายงานข้อมูลความสัมพันธ์ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความ สัมพันธ์กัน และมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ที่ต้องยื่นพร้อมแบบแสดงรายการ ต้องมีความชัดเจนและต้องไม่มีการตีความแตกต่างกัน หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ปฏิบัติ ตาม จะได้รับโทษตามมาตรา 35 ตรี
  6.     ร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยเฉพาะ ร่างมาตรา 71 ทวิ และมาตรา 71 ตรี จึงเป็นบทบัญญัติที่ไม่ใช้บังคับแก่ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  7.     ร่างพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับกับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในรอบ ระยะเวลาบัญชีตั้งแต่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป

    ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่พร้อมใช้บังคับเป็นกฎหมาย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ร่างพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ …)พ.ศ. …
    ……………………………………………………………………………………………………..
    โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
    ……………………………………………………………………………………………………..
    มาตรา 1    พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ …) พ.ศ. …”
    มาตรา 2    พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
    มาตรา 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 35 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
    “มาตรา 35 ตรี ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 71 ตรี หรือยื่นรายงาน หรือเอกสาร หรือหลักฐานตามมาตรา 71 ตรี โดยแสดงข้อมูลไม่ถูกต้องครบถ้วนโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท”

    มาตรา 4    ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 71 ทวิ และมาตรา 71 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
    “มาตรา 71 ทวิ  ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน มีข้อกำหนดทางด้านการพาณิชย์หรือการเงินระหว่างกัน แตกต่างไปจากที่ควรได้กำหนด หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้ดำเนินการโดยอิสระในลักษณะที่เชื่อ ได้ว่ามีการถ่ายโอนกำไร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลดังกล่าว ให้ได้จำนวนรายได้ที่พึงได้รับและรายจ่ายที่พึงได้จ่ายหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลดังกล่าวได้ดำเนินการโดยอิสระ เสมือนว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้รับและได้จ่ายตามนั้น เพื่อใช้คำนวณกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 65 หรือเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 70 หรือมาตรา 70 ทวิ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ กันตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไปที่มีความสัมพันธ์กันใน ลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) นิติบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด
(2) ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่งไม่ว่า โดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่าร้อย ละ 50 ของทุนทั้งหมด หรือ
(3) นิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านทุน การจัดการ หรือการควบคุม ในลักษณะที่นิติบุคคลหนึ่งไม่อาจดำเนินการโดยอิสระจากอีกนิติบุคคลหนึ่งตามที่กำหนด โดยกฎกระทรวง
ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ปรับปรุงรายได้และ รายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มี ความสัมพันธ์กันตามวรรคหนึ่งแล้ว มีผลให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ชำระภาษีไว้หรือถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษี หรือที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนด หรือภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการปรับปรุงนั้นจากเจ้าพนักงานประเมินเป็นหนังสือ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด
มาตรา 71 ตรี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลอื่นในลักษณะของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ วรรคสอง ไม่ว่าความสัมพันธ์นั้นจะมีอยู่ตลอดรอบระยะเวลาบัญชีหรือมีธุรกรรมระหว่างกันในรอบ ระยะเวลาบัญชีหรือไม่ จัดทำรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน และมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะ เวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดีกำหนด และยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นรายการภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 69
ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความ สัมพันธ์กันตามวรรคหนึ่ง เจ้าหนักงานประเมินโดยอนุมัติอธิบดี อาจส่งหนังสือแจ้งความแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นเอกสารหรือหลักฐานแสดงข้อมูลที่จำเป็น สำหรับการวิเคราะห์ข้อกำหนดของธุรกรรมระหว่าง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ กันตามที่อธิบดีประกาศกำหนด และผู้ได้รับหนังสือแจ้งความต้องปฏิบัติตามภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้ อธิบดีจะอนุญาตให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 120 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ได้รับหนังสือแจ้งความเป็นครั้งแรก ให้ผู้ได้รับหนังสือแจ้งความต้องปฏิบัติตามภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความนั้น
ความในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่บริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรายได้จากกิจการหรือเนื่อง จากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกินจำนวนหรือมีลักษณะอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งจำนวนรายได้ดังกล่าวต้องกำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท”
มาตรา 5     บทบัญญัติมาตรา 3 และมาตรา 4 ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งรอบระยะเวลาบัญชี เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป

กฎหมายภาษีอากรที่น่า สนใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2560

อากรแสตมป์สามารถเรียกเก็บโดยไม่ต้องออกหมาย เรียกได้หรือไม่

ประกาศอธิบดีกรมสรรพาการ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 330)

กำหนดหลักเกณฑ์  วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเงิน เพื่อลงหุ้นหรือลงทุนในการจัดตั้งหรือเพิ่มทุน ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 299/2561

การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

ระเบียบกรมพัฒนาธุรกิจ การค้าว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจการ งานบริษัทจำกัดและ
การตรวจสอบกิจการบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2561

กค 0702/5047    ลงวันที่    27 มิถุนายน 2561

ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีทำสัญญาฝากขายสินค้ากับนิติบุคคลต่างประเทศ

กค 0702/5134    ลงวันที่    2 กรกฎาคม 2561

ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขอคืนเงินภาษีอากร

 

Comments are closed.

.