ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 265 มกราคม 2562

ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 265 มกราคม 2562

ดัชนีความเคลื่อนไหวของ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

Topix

ร่างพระราชบัญญัติคุ้ม ครองแรงงาน(ฉบับที่……)พ.ศ. ………

ในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 84/ 2561 ที่ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่…)พ.ศ. ……. แล้วมีมติเห็นสมควรประกาศให้เป็นกฎหมาย ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างการนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระ ปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป รายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่…)พ.ศ……. เป็นไปตามตาราง ดังนี้

ตารางเปรียบ เทียบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
เดิม ใหม่
มาตรา 9 วรรคหนึ่ง
      ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนเงินประกันตามมาตรา 10 วรรคสอง หรือไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 หรือค่าชดเชยตามมาตรา 118 ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา 120 มาตรา 121 และมาตรา 122 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี
มาตรา 9 วรรคหนึ่ง
      ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนหลักประกันที่เป็นเงินตามมาตรา 10 วรรคสอง ไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17/1 หรือไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 หรือไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างหยุดกิจการตามมาตรา 75 หรือค่าชดเชยตามมาตรา 118 ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา 120 มาตรา120/1 มาตรา 121 และมาตรา 122 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี
มาตรา 13
      ในกรณีที่กิจการใดมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างเนื่องจากการโอน รับมรดกหรือด้วยประการอื่นใด หรือในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล และมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง โอน หรือควบกับนิติบุคคลใด สิทธิต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้างเดิมเช่นใด
ให้ลูกจ้างมีสิทธิเช่นว่านั้นต่อไป และให้นายจ้างใหม่รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ
มาตรา 13
       ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง หรือในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลและมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง โอน หรือควบนิติบุคคลใด หากมีผลทำให้ลูกจ้างคนหนึ่งคนใดไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ การไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ดังกล่าว ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างคนนั้น ด้วย และให้สิทธิต่างๆที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้างเดิมคงมีสิทธิต่อไปโดยนายจ้างใหม่ต้อง ได้รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยว กับลูกจ้างนั้นทุกประการ
มาตรา 17/1 
        ในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่ บอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบตามมาตรา 17 วรรคสอง ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับ นับแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงานจนถึง วันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผลตามมาตรา 17 วรรคสอง โดยให้จ่ายในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน
มาตรา 34
       ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
มาตรา 34
       ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่าสามวันทำงาน
มาตรา 41
        ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลา เพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกินเก้าสิบ วัน
         วันลาตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วย
มาตรา 41
       ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกินเก้าสิบแปด วัน
      วันลาเพื่อคลอดบุตรตามมาตรานี้ให้หมายความรวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์
       วันลาตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วย
มาตรา 53
        ในกรณีที่งานมีลักษณะและคุณภาพอย่าง เดียวกันและปริมาณเท่ากัน ให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างเท่าเทียมกันไม่ว่าลูกจ้างนั้นจะเป็นชายหรือ หญิง
มาตรา 53
       ให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานอันมีลักษณะ คุณภาพ และปริมาณเท่ากันหรืองานที่มีค่าเท่าเทียมกันในอัตราเท่ากันไม่ว่าลูกจ้างนั้นจะเป็น ชายหรือหญิง
มาตรา 57/1
       ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นตามมาตรา 34 เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกินสามวันทำงาน
มาตรา 59
      ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้าง ในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกินสี่สิบห้าวัน
มาตรา 59
      ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อคลอดบุตรตามมาตรา 41 เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกินสี่สิบห้าวัน
มาตรา 70
       ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลาดังต่อไปนี้
      (1) ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้างเป็นรายเดือน รายวัน รายชั่วโมงหรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่นที่ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่นที่ เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง
(2) ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้าง นอกจาก (1) ให้จ่ายตามกำหนดเวลาที่นายจ้างและลูกจ้าง
ตกลงกัน
(3) ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และ ค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ให้แก่ลูกจ้างภายในสามวันนับแต่วันที่ เลิกจ้าง
มาตรา 70
         ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่าย ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้ถูกต้องและ ตามกำหนดเวลา ดังต่อไปนี้
        (1) ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้างเป็นรายเดือน รายวัน รายชั่วโมง หรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่นที่ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่นที่ เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง
         (2)ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้าง นอกจาก (1) ให้จ่ายตามกำหนดเวลาที่นายจ้างลูกจ้างตกลงกัน
         (3)ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุดและเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ให้จ่าย เดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง
        ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุดและเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ ตามที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับให้แก่ ลูกจ้างภายในสามวันนับแต่วันที่เลิกจ้าง
มาตรา 75
       ในกรณีที่นายจ้างมีความจําเป็นโดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สําคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบ กิจการของนายจ้างจนทําให้นายจ้างไม่ สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติซึ่งมิใช่ เหตุสุดวิสัยต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือ บางส่วนเป็นการชั่วคราว   ให้นายจ้างจ่ายเงินให่แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของค่าจ้างในวันทํางาน ที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการ ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้าง ทํางาน
     ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือก่อนวันเริ่ม หยุดกิจการตามวรรคหนึ่งไม่น้อยกว่าสาม วันทําการ
มาตรา 75
        ในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุด กิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่ว คราว ด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างจนทำให้นาย จ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ ซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของค่าจ้างในวันทำงาน ที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการ ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้าง ทำงาน ณ สถานที่จ่ายเงินตามมาตรา 55 และภายในกำหนดเวลาการจ่ายเงินตามมาตรา 70(1)
มาตรา 93  (5)
     คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(5) ออกคําสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินค่าชดเชยพิเศษหรือ
ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม มาตรา 120
มาตรา 93 (5)
     คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(5)ออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชย พิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชด เชยพิเศษตามมาตรา 120/1
มาตรา 118
      ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง  ดังต่อไปนี้
(5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย สามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้าง ตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
มาตรา 118
      ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง  ดังต่อไปนี้
(5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปี แต่ไม่ครบยี่สิบปี  ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสาม ร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับ ค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(6)ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบยี่สิบ ปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสี่ร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสี่ ร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับ ค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
มาตรา 120
         ในกรณีที่นายจ้างจะย้ายสถานประกอบกิจการ ไปตั้ง ณ สถานที่อื่นอันมีผลกระทบสําคัญต่อการดํารงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว นายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถาน ประกอบกิจการ ในการนี้ ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทํางานด้วย ให้ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนาย จ้าง หรือวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ ได้รับตามมาตรา 118
             ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบ
ล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสาม สิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทํางานสามสิบวันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตาม ผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย
           ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษ หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกจ้างบอกเลิก สัญญา
         ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยพิเศษ หรือ
ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม วรรคสาม ให้ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคําร้องต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วัน ครบกําหนดการจ่ายค่าชดเชยพิเศษ หรือ
ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
         ให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาและ มีคําสั่งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้ รับคําร้อง
         เมื่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณา แล้ว ปรากฎว่า ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานมีคําสั่ง เป็นหนังสือให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษ หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วง หน้า แล้วแต่กรณี ให้แก่ลูกจ้างภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบ หรือถือว่า
ทราบคําสั่ง
          ในกรณีที่คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน พิจารณาแล้วปรากฎว่า ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วง หน้า แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานมีคําสั่ง
เป็นหนังสือและแจ้งให้นายจ้างและลูกจ้าง ทราบ
         คําสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้ เป็นที่สุด เว้นแต่นายจ้างหรือลูกจ้างจะอุทธรณ์คำสั่ง
ต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ ทราบคําสั่ง ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนําคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวางหลักประกันต่อศาลตามจําน วนที่ต้องจ่ายตามคําสั่งนั้น จึงจะฟ้องคดีได้

มาตรา 120
         นายจ้างซึ่งประสงค์จะย้ายสถานประกอบ กิจการแห่งหนึ่งแห่งใดไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่ หรือย้ายไปสถานที่อื่นของนายจ้าง   ให้นายจ้างปิดประกาศแจ้งให้ลูกจ้าง ทราบล่วงหน้า โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ที่ลูกจ้างสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบ วันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ และประกาศนั้นอย่างน้อยต้องมีข้อความชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่าลูกจ้างคนใดจะ ถูกย้ายไปสถานที่ใดและเมื่อใด
        ในกรณีที่นายจ้างไม่ปิดประกาศให้ ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะไปทำ งาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานสาม สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้ รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็น หน่วย
         หากลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถาน ประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบสำคัญ ต่อการดำรงชีวิติตามปกติของลูกจ้าง หรือครอบครัวลูกจ้างคนนั้น และไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ปิดประกาศ หรือนับแต่วันย้ายสถานประกอบกิจการ ในกรณีที่นายจ้างมิได้ประกาศตามวรรค หนึ่งและให้ถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุด ลงในวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบ กิจการ โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ ได้รับตามมาตรา 118
         ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสองหรือค่า ชดเชยพิเศษตามวรรคสามให้แก่ลูกจ้าง ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สัญญาจ้าง สิ้นสุด
        ในกรณีที่นายจ้างไม่เห็นด้วยกับ เหตุผลของลูกจ้างตามวรรคสาม ให้นายจ้างยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับ แจ้งเป็นหนังสือ

มาตรา 120/1
      เมื่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณา
คำร้องตามมาตรา 120 วรรคห้าแล้ว เห็นว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ ให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานสั่งให้นาย จ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าว ล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ แล้วแต่กรณี ให้แก่ลูกจ้างภายในสามสิบวันนับแต่วัน ที่นายจ้างทราบคำสั่ง
        ในกรณีที่คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน พิจารณาแล้ว เห็นว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชย พิเศษ แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานแจ้งคำสั่งให้นายจ้างและลูกจ้างทราบ
      ในการพิจารณาและมีคำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน หกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง และแจ้งคำสั่งให้นายจ้างและลูกจ้างทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่ง
     คำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้เป็นที่สุด เว้นแต่นายจ้างหรือลูกจ้างจะอุทธรณ์คำ สั่งต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ได้ทราบคำสั่ง ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวางหลักประกันต่อศาลตามจำนวน ที่ต้องจ่ายตามคำสั่งนั้น จึงจะฟ้องคดีได้
     การส่งคำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้นำมาตรา 143 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 120/2
       ในกรณีที่นายจ้างได้อุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานต่อศาลภายในระยะเวลา ที่กำหนดตามมาตรา 120/1 วรรคสี่ และได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแล้ว การดำเนินคดีอาญาต่อนายจ้างให้เป็นอัน ระงับไป
มาตรา 124/1
        ในกรณีที่นายจ้างปฏิบัติตามคําสั่งของ พนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 124 ภายในระยะเวลาที่กําหนดหรือได้ปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลแล้ว การดําเนินคดีอาญาต่อนายจ้างให้เป็นอัน ระงับไป
มาตรา 124/1
       ในกรณีที่นายจ้างได้ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 124 ภายในระยะเวลาที่กำหนด การดำเนินคดีอาญาต่อนายจ้างให้เป็นอันระงับไป
มาตรา 125/1
        ในกรณีที่นายจ้างได้นำคดีไปสู่ศาลภายใน ระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา 125 และได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแล้ว การดำเนินคดีต่อนายจ้างให้เป็นอันระงับ ไป
มาตรา 144 (1)
      นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(1) มาตรา 10 มาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 37 มาตรา 38 มาตรา 39 มาตรา 39/1มาตรา 40 มาตรา 42 มาตรา 43 มาตรา 46 มาตรา 47 มาตรา 48 มาตรา 51 มาตรา 61 มาตรา 62 มาตรา 63 มาตรา 64 มาตรา 67 มาตรา 70 มาตรา 71 มาตรา 72 มาตรา 76 มาตรา 90 วรรคหนึ่ง มาตรา 118 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 118/1 วรรคสอง
(2) มาตรา 120 มาตรา 121 หรือมาตรา 122 ในส่วนที่เกี่ยวกับการไม่จ่ายค่าชดเชย พิเศษ แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ
มาตรา 144 (1)
       นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(1) มาตรา 10 มาตรา 17/1 มาตรา 23 วรรคสอง มาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 37 มาตรา 38 มาตรา 39 มาตรา 39/1มาตรา 40 มาตรา 42 มาตรา 43 มาตรา 46 มาตรา 47 มาตรา 48 มาตรา 51 มาตรา 57/1 มาตรา 61 มาตรา 62 มาตรา 63 มาตรา 64 มาตรา 67 มาตรา 70 มาตรา 71 มาตรา 72 มาตรา 76 มาตรา 90 วรรคหนึ่ง มาตรา 118 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 118/1 วรรคสอง
(2) มาตรา 120 มาตรา120/1 มาตรา 121 หรือมาตรา 122 ในส่วนที่เกี่ยวกับการไม่จ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ
มาตรา 145
     นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 23 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา 145
     นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 23 วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา 146
       นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 15 มาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง มาตรา 45 มาตรา 53 มาตรา 54 มาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 65 มาตรา 66 มาตรา 73 มาตรา 74 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง มาตรา 77 มาตรา 99 มาตรา 108 มาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 113 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 117 หรือไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ตามมาตรา 120 มาตรา 121 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 139 (2) หรือ (3) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 146
       นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 15 มาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง มาตรา 45 มาตรา 53 มาตรา 54 มาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 65 มาตรา 66 มาตรา 73 มาตรา 74 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง มาตรา 77 มาตรา 99 มาตรา 108 มาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 113 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 117 หรือไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ตาม มาตรา 121 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 139 (2) หรือ (3) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 151 วรรคสอง
        ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการ สวัสดิการแรงงานที่สั่งตามมาตรา 120 หรือคําสั่ง ของพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งตามมาตรา 124 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 151 วรรคสอง
      ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งตามมาตรา 124 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 155/1
     นายจ้างผู้ใดไม่ยื่นหรือไม่แจ้งแบบแสดงสภาพการจ้างและสภาพการทํางาน ตามมาตรา 115/1 และได้รับหนังสือเตือนจากพนักงานตรวจแรงงานแล้วยังไม่ยื่นหรือไม่แจ้งภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือเตือนต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท”
มาตรา 155/1
      นายจ้างผู้ใดไม่ยื่นหรือไม่แจ้งแบบแสดงสภาพการจ้างและสภาพการทํางาน ตามมาตรา 115/1 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

กฎหมายภาษีอากรที่น่า สนใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2559

   การขอคืนเงินภาษีอากรจากการเพิกถอนการทำนิติกรรม    

พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่ 670) พ.ศ.2561

พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่ 671) พ.ศ.2561

พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่ 672) พ.ศ.2561

พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่ 674) พ.ศ.2561

กค 0702/6764    ลงวันที่    29 สิงหาคม 2561

    ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายเงินค่าบริการไปต่างประเทศ

 

Comments are closed.

.