การยื่นงบการเงินผ่าน ช่องทาง DBD e-Filing และกำหนดเวลายื่น บอจ.5
กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้แจ้งข่าวเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 ว่าจะมีการออกประกาศ 2 ฉบับ คือ ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นงบการเงิน พ.ศ. 2562 และแนวทางปฏิบัติในการยื่นงบการเงินและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น พ.ศ. 2562 เพื่อให้บริษัทยื่นงบการเงินและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นภายในกำหนดเวลาได้อย่างถูก ต้อง
อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากล่าวว่า บริษัทสามารถยื่นงบการเงินได้ 2 ช่องทาง คือ (1) การยื่นผ่านระบบ DBD e-Filing และ (2) การยื่นด้วยตนเองในรูปแบบกระดาษ ซึ่งบริษัทต้องยื่นผ่านระบบ DBD e-Filing อีกครั้งภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันครบกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายจึงจะถือว่ายื่นงบการเงินเสร็จสมบูรณ์ โดยการยื่นงบการเงินผ่านระบบ DBD e-Filing ในปี 2562 นี้ มีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น เพราะบริษัทสามารถดาวน์โหลดและกรอกข้อมูลผ่านไฟล์ Excel เวอร์ชั่น V.2.0 ได้เลย บริษัทสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.dbd.go.th เลือก บริการออนไลน์ และ ระบบนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing)
สำหรับการยื่นบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัทจำกัดต้องยื่นแบบ บอจ.5 ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุมัติในที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น โดยให้นำส่งผ่านระบบ DBD e-Filing เช่นกัน
การลงลายมือชื่อของผู้ขอจดทะเบียนต่อหน้าบุคคลที่กฎหมายกำหนด
ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง การแจ้งเตือนบุคคลที่ผู้ขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดจะลงลายมือชื่อต่อ หน้าได้ พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 6 ธันวาคม 2562 ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเองต่อหน้านายทะเบียน หรือบุคคลตามที่กฎกระทรวงจัดตั้งสำนักงานทะเบียนหุ้น ส่วนบริษัท แต่งตั้งนายทะเบียน พ.ศ. 2549 กำหนด เช่น สามัญหรือวิสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ผู้ทำบัญชีที่เป็นสมาชิกหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี สำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองคุณภาพสำนักงาน บัญชีจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นต้น
ถ้าผู้ขอจดทะเบียนไม่ได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าบุคคลดังกล่าวจริง แต่บุคคลนั้นรับรองว่า “ผู้ขอจดทะเบียนได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าจริง” จะทำให้ลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนนั้นไม่ถูกต้อง และอาจเข้าข่ายเป็นการที่บุคคลดังกล่าวสนับสนุนให้ผู้ขอจดทะเบียนกระทำความผิดฐาน แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน และความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสาร มหาชนหรือเอกสารราชการ และถ้าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น ด้านกฎหมาย บัญชี เป็นต้น ให้การรับรองว่า “ผู้ขอจดทะเบียนได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าจริง” แต่แท้จริงแล้วผู้ขอจดทะเบียนไม่ได้ลงลายมือชื่อต่อหน้า จนเป็นเหตุให้นายทะเบียนเชื่อว่าลายมือชื่อในคำขอจด ทะเบียนเป็นลายมือชื่อที่ถูกต้องและดำเนินการจด ทะเบียนให้ บุคคลดังกล่าวอาจมีความผิดฐานทำคำรับรองอันเป็นเท็จได้
ทั้งนี้ ตามประกาศข้างต้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้าประสงค์จะแจ้งเตือนเพื่อให้การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนเป็น ไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย