ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 279 มีนาคม 2563

ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 279 มีนาคม 2563

ดัชนีความเคลื่อนไหวของ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

Topix

  1.    สรรพากรจัดมาตรการภาษีชุดใหญ่เยียวยา COVID-19 

            นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากรมสรรพากรได้ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค covid-19 อย่างใกล้ชิด ซึ่งขณะนี้สถานการณ์โดยรวมยังมีความน่าเป็นห่วงอยู่ กรมสรรพากรจึงได้ออกมาตรการภาษีเยียวยาผู้ที่ได้รับ ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าว เพื่อเป็นการบรรเทาและแบ่งเบาภาระของผู้เสียภาษีทั้งกลุ่มบุคคลและกลุ่มนิติบุคคล ดังนี้
            มาตรการสำหรับกลุ่มบุคคล
กรมสรรพากรมีมาตรการภาษีสำหรับบุคลากรด้านสาธารณ สุข ซึ่งปฎิบัติหน้าที่ต่านภัย COVID-19 และมาตรการภาษีเพื่อให้ประชาชนโดยทั่วไปได้ดูแลสุขภาพอย่างมีคุณภาพ รวมถึงมาตรการเลื่อนวลาการยื่นแบบและชำระภาษีของผู้ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่

  1.   มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา สำหรับค่าตอบแทนในการเสี่ยงภัยของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งปฎิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ ทำหน้าที่เฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุม รักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส COVID-19 เช่น แพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ เจ้าหน้าที่สืบสวนโรค พนักงานขับรถส่งผู้ป่วย รวมทั้งบุคคลที่มิใช่ข้าราชการหรือข้าราชการที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุข เป็นต้น โดยเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับค่าตอบแทนเสี่ยงภัยที่ได้รับจากกระทรวง สาธารณสุขในปีภาษี 2563
  1.  มาตรการเพิ่มวงเงินหักลด หย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพ จากเดิมที่สามารถหักลดหย่อนได้ที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท เพิ่มเป็นหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับการหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิตและเงินฝากประเภทสงเคราะห์ชีวิตแล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท เริ่มตั้งแต่ปีภาษี 2563 เป็นต้นไป เพื่อให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น และมีภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพลดลง
  1.  มาตรการเลื่อนเวลายื่นแบบ และชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2562 รอบ 2 โดยกรมสรรพากรได้ออกมาตรการเลื่อนเวลาการยื่นแบบฯ เพิ่มเติมอีก 2 เดือน จากสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2563 เป็น 31 สิงหาคม 2563 เป็นมาตรการบรรเทาภาระให้แก่ผู้เสียภาษีที่จากเดิมได้มีมาตรการเลื่อนเวลาการยื่น แบบฯ ออกไป จากสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2563 เป็นเดือนมิถุนายน 2563 (ตามประกาศกระทรวง การคลัง เรื่องขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี พ.ศ. 2562 (ฉบับที่ 2) )

        มาตรการสำหรับกลุ่มนิติบุคคล
กรมสรรพากรได้รับทราบถึงความเดือดร้อนของผู้ ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 จึงได้มีมาตรการเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว ได้แก่

  1. มาตรการเลื่อนเวลาการยื่นแบบและชำระภาษี เงินได้นิติบุคคล สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย โดยเลื่อนการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 จากเดิมที่ต้องยิ่นในเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม 2563 เป็นถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 และเลื่อนการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 จากเดิมที่ต้องยื่นในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2563 เป็นถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 (ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกําหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 2))
  1.  มาตรการเลื่อนเวลาการยื่น แบบและชำระภาษี สำหรับผู้ประกอบการทั้งหมด โดยจะได้รับการเลื่อนเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีออกไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนดต่อไป (ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการ การนำส่งหรือการชำระภาษีอากรให้แก่ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล การนำส่งหรือการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม การชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ และการเสียอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 2) ประกอบกับข่าวกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 35/2563 ลงวันที่ 6 เมษายน 2563)


รายการ เดิม ใหม่
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) รอบระยะเวลาบัญชีปี 2562 ที่ต้องยื่นระหว่างเดือนเมษายน 2563 – สิงหาคม 2563 ภายใน 31 สิงหาคม 2563
แบบแสดงรายการภาษีนิติบุคคลครึ่งรอบ (ภ.ง.ด.51) รอบระยะเวลาบัญชีปี 2562 ที่ต้องยื่นระหว่างเดือนกรกฎาคม 2563 – กันยายน 2563 ภายในวันที่ 30 กันยายน 2563
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามแบบ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.2 ภ.ง.ด.3 ภ.ง.ด.53 ภ.ง.ด.54 ภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเดือนมีนาคม 2563 ที่ต้องยื่นภายในวันที่ 7 เมษายน 2563 หรือกรณียื่นโดย e-Filing ภายในวันที่ 15 เมษายน 2563

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเดือนเมษายน 2563 ที่ต้องยื่นภายในวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 หรือกรณียื่นโดย e-Filing ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563

ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563

ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563

ภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 และ ภ.พ. 36 ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนมีนาคม 2563 ที่ต้องยื่นภายในวันที่ 15 เมษายน  2563 หรือกรณียื่นโดย e-Filing ยื่นภายในวันที่ 23 เมษายน 2563

ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนเมษายน 2563 ที่ต้องยื่นภายในวันที่ 15  พฤษภาคม 2563 หรือกรณียื่นโดย e-Filing ยื่นภายในวันที่ 23 พฤษภาคม 2563

ภายในวันที่ 23 พฤษภาคม 2563

ภายในวันที่ 23 พฤษภาคม 2563

ภาษีธุรกิจเฉพาะตามแบบ ภ.ธ.40 ภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนมีนาคม 2563 ที่ต้องยื่นภายในวันที่ 15 เมษายน 2563 หรือกรณียื่นโดย e-Filing ภายในวันที่ 23 เมษายน 2563

ภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนเมษายน 2563 ที่ต้องยื่นภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563หรือกรณียื่นโดย e-Filing ภายในวันที่ 23 พฤษภาคม 2563

ภายในวันที่ 23 พฤษภาคม 2563

ภายในวันที่ 23 พฤษภาคม 2563

อากรสแตมป์ตามแบบ อ.ส.4  อ.ส.5ก และ อ.ส.5ข กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องเสียอากร สแตมป์เป็นตัวเงินแทนการติดอากรสแตมป์ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2563 จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563

       

  1.  เพื่อเป็นการช่วยเหลือ เยียวยาในสถานการณ์โรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 และเพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ระบบ e-Withholding Tax ให้ลดอัตราการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2)(3)(4)(5)(6)(7) และ (8) ที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 เป็นอัตราร้อยละ 1.5 และให้ลดอัตราการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินตามข้างต้น ที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เป็นอัตราร้อยละ 2.0  ดังนี้ (ตามประกาศกระทรวงการคลัง (ฉบับที่ 361) พ.ศ.2563 ลงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2563)


ประเภทเงิน ได้พึงประเมิน ผู้ถูกหัก ภาษี ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายในอัตราปกติ หักภาษีใน อัตราที่ลดลงตามกฎกระทรวงฉบับที่ 361 สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 – 30 กันยายน 2563 หัก ภาษีในอัตราที่ลดลงตามกฎกระทรวงฉบับที่ 361 สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วัน ที่ 1 ตุลาคม 2563 – 31 ธันวาคม 2564 โดย e-Withholding Tax
1. มาตรา 40 (2)
การรับทำงานให้
–    ค่านายหน้า ฯลฯ
–    บริษัท
–    ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
–    ไม่รวมมูลนิธิหรือสมาคม
3% 1.5% 2%
2. มาตรา 40 (3)
–    ค่าแห่งกู๊ดวิลล์
–    ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น
–    บริษัท
–    ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
–    ไม่รวมมูลนิธิหรือสมาคม
3% 1.5% 2%
3. มาตรา 40 (6) และ (7)
–    วิชาชีพอิสระ
–    การรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องจัดหาสัมภาระ
–    ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนิติบุคคล
–    ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบุคคลธรรมดา
3% 1.5% 2%
4. มาตรา 40 (8)
–    จ้างทำของ
–    รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ
–    บริษัท
–    ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
–    ไม่รวมมูลนิธิหรือสมาคม
3% 1.5% 2%

  1.    บีโอไอขยายเวลายื่นขอใช้สิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ผู้ประกอบการยื่นเอก สารออนไลน์ได้ทุก งาน    

    1. เลขาธิการ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ที่ขยายวงกว้างขึ้น จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงการคลังได้มีมาตรการให้เลื่อนเวลาการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล รอบระยะเวลาบัญชีปี 2562 (ภ.ง.ด. 50) เป็นภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2563 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบนั้น
      1. เพื่อ ให้เงื่อนไขด้านการใช้สิทธิประโยชน์ทาง ภาษีของบีโอไอสอดคล้องกับมาตรการ ของกระทรวงการคลัง บีโอไอจึงได้ขยายกำหนดเวลาการยื่นขอใช้สิทธิประโยชน์
      ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นภายในวัน ที่ 31 กรกฎาคม 2563 หรือก่อนครบกำหนดเวลายื่นรายการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่น้อยกว่า 30 วัน เพื่อความสะดวกของผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
  1.  มาตรการรองรับ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการจัดประชุมของนิติบุคคล พ.ศ. 2563

กรมพัฒนา ธุรกิจการค้าในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการ กำกับดูแลงานด้านการจดทะเบียนธุรกิจตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509 และพระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ. 2509 และมีหน้าที่ในการกำกับดูแลการจัดทำบัญชีและการนำส่งงบการเงินตามพระราชบัญญัติการ บัญชี พ.ศ. 2543 จึงออกประกาศ ดังนี้

      บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด สมาคมการค้า และหอการค้า รายใดที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้นจนทำให้เกิดเหตุขัดข้องไม่สามารถ จัดประชุมหรือจัดประชุมล่าช้าเกินกว่าระยะ เวลาที่กฎหมายกำหนด และเมื่อได้ดำเนินการจัดประชุมแล้ว ให้มีหนังสือชี้แจงเหตุผลยื่นต่อนายทะเบียนเป็นรายกรณีไป
  1.  สำนักงาน ประกันสังคมได้ขยายกำหนดเวลาการส่งเงินสมทบ และลดอัตราเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตน

    1. สำนัก งานประกันสังคม ได้ขยายวันกำหนดนำส่งเงินสมทบสำหรับค่าจ้างตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงเดือนพฤษภาคม 2563 ออกไปอีก 3 เดือน และให้ลดอัตราเงินสมทบในส่วนของนายจ้างเป็นอัตราร้อยละ 4 และส่วนของผู้ประกันตนเป็นอัตราร้อยละ 1 (ตามข่าวประกันสังคม เรื่อง มาตรการปรับลดขยายเวลานำส่งเงินสมทบประกันสังคม ลงวันที่ 26 มีนาคม 2563)
    2. สำนักงานประกันสังคม
      (ยังไม่มีประกาศอย่างเป็นทางการ)
      ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจาก เดือนที่จ่ายค่าจ้าง
      อัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน 5%
      ขยายเวลาส่งเงินสมทบสำหรับ ค่าจ้างเดือน มีนาคม – พฤษภาคม 2563 ออกไปอีก 3 เดือน
      -ค่าจ้างเดือน มีนาคม เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 กรกฎาคม 2563
      -ค่าจ้างเดือน เมษายน เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 สิงหาคม 2563
      -ค่าจ้างเดือน พฤษภาคม เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 กันยายน 2563
      ลดอัตราเงินสมทบสำหรับค่าจ้างเดือน มีนาคม – พฤษภาคม 2563 ดังนี้
      – นายจ้าง 4%
      – ผู้ประกันตน 1%

กฎหมายภาษีอากรที่น่า สนใจ

    คำอธิบายประกอบการกรอกแบบรายงานประจำปีสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มี ความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (Disclosure form)

    พระราชกฤษฎีกาออก ตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร  (ฉบับที่ 691) พ.ศ. 2563    

    พระราชกฤษฎีกาออก ตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 692) พ.ศ. 2563         

   กฎกระทรวงฉบับที่ 356 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร    

   ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 366)        

        กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุนในเครื่องจักร แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้ลงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร  

   เลขที่หนังสือ : กค 0702/พ./8380    ลงวันที่    22 ธันวาคม 2560

        ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเบี้ยปรับจากการใช้ใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

   เลขที่หนังสือ : กค 0702/8612    ลงวันที่    23 กันยายน 2558    

        ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประเมินภาษีอากร

      

Comments are closed.

.