หัวข้อเรื่อง
ตารางเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์และบทลงโทษของกฎหมายประกันสังคมใหม่ และเก่า
ตารางเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์และบทลงโทษของกฎหมายประกันสังคมใหม่ และเก่า | ||
---|---|---|
ประเด็นต่างๆ | พรบ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 | พรบ.ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 |
การขยายความคุ้มครอง (ลูกจ้างชั่วคราว) | ยกเว้น ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน | ให้ความคุ้มครองลูกจ้างชั่วคราวทุกประเภท |
การขยายความคุ้มครอง (ลูกจ้างที่ไปทำงานต่างประเทศ) | ไม่คุ้มครอง | คุ้มครองลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศไทย และได้ไปทำงานประจำในต่างประเทศ |
การลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตนกรณีเกิดภัยพิบัติอย่างร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ | ไม่มี | มี |
จำนวนเงินเพิ่ม | ไม่จำกัด | จำกัดไม่เกินจำนวนเงินสมทบที่ต้องนำส่ง |
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค | ไม่มี | มี |
เงื่อนไขการโอนและการบังคับคดี | ไม่มี | ไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในบังคับความรับผิดแห่งการบังคับคดี |
กำหนดระยะเวลาในการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทน | ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน | ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน |
กรณีผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีขาดรายได้หลายกรณี | ให้ได้สิทธิเพียงกรณีเดียว | มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีขาดรายได้ 2 กรณีพร้อมกัน คือกรณีคลอดบุตรและกรณีเจ็บป่วยหรือทุพพลภาพ |
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องมาจากการทำงาน | ไม่มี | ให้ได้รับค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ และเงินช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ |
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากการคลอดบุตร | ได้รับไม่เกิน 2 ครั้ง | ไม่มีจำกัดจำนวนครั้ง |
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากการทุพพลภาพ | จะต้องประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงานเป็นเหตุให้สูญเสียอวัยวะ หรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะอย่างถาวร หรือสูญเสียสภาวะปกติของจิตใจอย่างถาวร ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป | เมื่อมีระดับความสูญเสียรุนแรงตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด ซึ่งอาจไม่ถึงสูญเสียสมรรถภาพอย่างถาวร ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป |
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากการตาย | 1)หากส่งเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป จ่ายเท่ากับร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายเดือน คูณด้วย 3 2)หากส่งเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จ่ายเท่ากับร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายเดือน คูณด้วย 10 |
1)หากส่งเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป จ่ายเท่ากับร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายเดือน คูณด้วย 4 2)หากส่งเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จ่ายเท่ากับร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายเดือน คูณด้วย 12 |
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากการสงเคราะห์บุตร | ไม่เกิน 2 คน | ไม่เกิน 3 คน |
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากการชราภาพ | 1)ม่มีกรณีคนต่างด้าวชราภาพ 2)ู้มีสิทธิรับกลุ่มแรก แบ่งเป็น 3 พวก 3)ม่มี |
1)ู้ประกันตนคนต่างด้าวที่สิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนและไม่ประสงค์อยู่ในประเทศไทย ให้ได้รับบำเหน็จชราภาพ 2)ู้มีสิทธิรับกลุ่มแรก แบ่งเป็น 4 พวก โดยเพิ่มบุคคลที่ผู้ประกันตนทำหนังสือแจ้ง 3)ลุ่มที่ 2 กรณีไม่มีผู้มีสิทธิในกลุ่มแรก ดังนี้ (1)พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (2)พี่น้องร่วมบิดา หรือร่วมมารดา (3)ปู่ย่า ตายาย (4)ลุงป้า น้าอา (5)ลำดับก่อนย่อมตัดลำดับหลัง (6)ลำดับเดียวกันมีหลายคน ให้เฉลี่ยตามส่วน |
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากการว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย | ไม่มี | ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินทดแทน |
บทลงโทษกรณีไม่ยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 47 | ไม่มี | ต้องระวางโทษโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
ดัชนีความเคลื่อนไหวของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
กฎหมายภาษีอากรที่น่าสนใจ
คำพิพากษาฎีกาที่ 3933/2557
ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงาน กรณีร้ายแรง และละทิ้งหน้าที่การงานไปเสีย
คำพิพากษาฎีกาที่ 3942/2557
การสมัครใจลาออก กับการถูกบีบบังคับข่มขู่ให้ลาออก
กค 0702/3113 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2558
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบลดหนี้
กค 0702/9267 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2558
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีส่วนลดเนื่องจากการส่งเสริมการขาย