ดัชนีความเคลื่อนไหวของ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
Topix
พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 กฎหมายฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่การจัดเก็บภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. พ.ศ.2563
โดยเนื้อหาของพระราชบัญญัติฉบับนี้มีสาระสำคัญ เพื่อปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน และกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ จำนวน 12 ฉบับ ให้รวมเป็นฉบับเดียวเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ลดความเหลี่อมล้ำให้สังคม ลดปัญหาการกักตุนเก็งกำไร และกระตุ้นให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินนั้น จึงสามารถจำแนกออกเป็น 4 ประเภทตามวัตถุประสงค์การใช้งานของทรัพย์สินเพื่อประเมินอัตราภาษี ได้ดังนี้
มูลค่า ทรัพย์สิน | อัตราภาษี |
ไม่เกิน 75 ล้านบาท | 0.01% |
เกิน 75 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท | 0.03% |
เกิน 100 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 500 ล้านบาท | 0.05% |
เกิน 500 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท | 0.07% |
เกิน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป | 0.1% |
มูลค่า ทรัพย์สิน | อัตราภาษี |
ไม่เกิน 50 ล้านบาท | 0.02% |
เกิน 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 75 ล้านบาท | 0.03% |
เกิน 75 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท | 0.05% |
เกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป | 0.1% |
มูลค่า ทรัพย์สิน | อัตราภาษี |
ไม่เกิน 50 ล้านบาท | 0.3% |
เกิน 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท | 0.4% |
เกิน 200 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท | 0.5% |
เกิน 1,000 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 5,000 ล้านบาท | 0.6% |
เกิน 5,000 ล้านบาทขึ้นไป | 0.7% |
มูลค่า ทรัพย์สิน | อัตราภาษี |
ไม่เกิน 50 ล้านบาท | 0.3% |
เกิน 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท | 0.4% |
เกิน 200 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท | 0.5% |
เกิน 1,000 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 5,000 ล้านบาท | 0.6% |
เกิน 5,000 ล้านบาทขึ้นไป | 0.7% |
อ้างถึง “หนังสือคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย) (กกร.)” เรื่อง การพิจารณาทางเลือกในการบันทึกบัญชีเพื่อรับรู้ผลกระทบจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรง งานฉบับใหม่ซึ่งกำหนดค่าชดเชยเพิ่มเติมกรณีนายจ้าง เลิกจ้างลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่า จ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน
ผลการพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2562 มีมติเห็นว่า
กรมสรรพากร
เลขที่ข่าว ปชส. 23/2562
วันที่แถลงข่าว 15 กุมภาพันธ์ 2562
เรื่อง ประชาสัมพันธ์การคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
กรมสรรพากรได้พัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อการบริการประชาชนด้วยการปรับปรุงกระบวน การให้บริการคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเข้าบัญชี เงินฝากธนาคารผ่านระบบการโอนเงินแบบผ่านพร้อมเพย์ (Prompt Pay) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษีโดยลดภาระในการเดินทางไป ธนาคารเพื่อนำเช็คไปเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร ไม่ต้องรอรับเช็คคืนภาษีทางไปรษณีย์ รวมทั้งเป็นการแก้ปัญหาเรื่องเช็คคืนภาษีส่งไม่ถึงมือผู้รับหรือเช็คภาษีสูญหาย อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการ พิมพ์เช็คและจัดส่งทางไปรษณีย์ซึ่งเป็นต้นทุนของ ประเทศ แต่ปัจจุบันพบว่ายังมีผู้ขอคืนที่ไม่มีความประสงค์จะขอคืนภาษีเข้าบัญชีเงินฝาก ธนาคารผ่านระบบการโอนเงินแบบผ่านพร้อมเพย์ (Prompt Pay) จึงมีช่องทางการรับเงินคืนภาษีโดยให้ผู้ขอคืนนำหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาที่กรมจัดส่งให้ทางไปรษณีย์ พร้อมด้วยบัตรประจำตัวประชาชน และหรือเอกสารหลักฐานซึ่งแสดงถึงฐานะของผู้มีเงินได้ที่มีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีไป ติดต่อเพื่อขอรับเงินคืนภาษีได้ที่ธนาคารภายในวัน ที่ที่ระบุไว้ในหนังสือ
นายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ ผู้อำนวยการกองมาตรฐานการจัดเก็บภาษี ในฐานะรองโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า กรณีผู้ขอคืนภาษีที่เป็นชาวต่างชาติได้รับหนังสือแจ้งคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่สามารถไปติดต่อขอรับเงินคืนภาษีที่ธนาคารได้ เนื่องจากเดินทางออกจากประเทศไทยแล้ว ผู้ขอคืนสามารถให้ผู้แทนที่ชอบด้วยกฎหมายทำการแทนได้ โดยนำหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ กรมจัดส่งให้ทางไปรษณีย์พร้อมทั้งแนบเอกสารที่ พิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้แทนที่ชอบด้วยกฎหมาย ติดต่อเพื่อขอรับเงินคืนภาษีที่ได้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ภายในวันที่ที่ระบุไว้ในหนังสือ
การดำเนินการดังกล่าวรองรับถึงกรณีอื่นๆ ที่ผู้ขอคืนภาษีไม่สามารถไปดำเนินการได้ด้วยตนเองและมีผู้ทำการแทนชอบด้วยกฎหมาย เช่น ผู้ขอคืนถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินคืนภาษี คนพิการ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ ผู้ขอคืนซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในต่างประเทศ กรณีดังกล่าวผู้ขอคืนสามารถให้ผู้แทนที่ชอบด้วยกฎหมายทำการแทนได้ เช่นเดียวกับกรณีชาวต่างชาติ
กรณีคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล วิสาหกิจชุมชน กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งสามารถให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วน สามัญที่มิใช่นิติบุคคลหรือวิสาหกิจชุมชนหรือผู้ จัดการมรดก นำหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่กรมจัดส่งให้ทางไปรษณีย์พร้อมทั้งแนบ เอกสารที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้แทนที่ชอบด้วยกฎหมาย ติดต่อเพื่อขอรับเงินคืนภาษีได้ที่ธนาคารภายในวัน ที่ที่ระบุไว้ในหนังสือเช่นกัน
ทั้งนี้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จะดำเนินการปรับปรุงระบบเพื่อสามารถให้บริการสำหรับผู้ขอคืนข้างต้นได้ ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562
เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความคล่องตัวให้แก่ภาค ธุรกิจในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด จึงสมควรปรับปรุงการลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่อาจลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนได้
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 6 (1)(ค) แห่งกฎกระทรวงจัดตั้งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแต่งตั้งนายทะเบียน และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดทะเบียนห้าง หุ้นส่วนและบริษัทจำกัดพ.ศ. 2549 ออกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นายทะเบียนกลางออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง เรื่อง กำหนดบุคคลที่ผู้ขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดจะลงลายมือชื่อต่อหน้าได้ พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ข้อ 2 ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลที่ผู้ขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดจะลงลายมือชื่อต่อหน้าได้
(1) กรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
(2) กรรมการหอการค้าไทย
(3) กรรมการหอการค้าจังหวัด
(4) กรรมการหอการค้าต่างประเทศที่จดทะเบียนในประเทศไทย
(5) กรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(6) กรรมการสภาอุตสาหกรรมจังหวัด
(7) กรรมการผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย
(8) กรรมการสภาวิชาชีพบัญชี
(9) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี
(10) ผู้ทำบัญชีที่เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี
(11) หัวหน้าสำนักงานบัญชี หรือหุ้นส่วนผู้จัดการหรือกรรมการของสำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองคุณภาพ สำนักงานบัญชีจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สำนักงานบัญชีคุณภาพ) ซึ่งเป็นสมาชิกของสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี ตามรายชื่อที่สำนักงานบัญชีคุณภาพได้แจ้งไว้ต่อนาย ทะเบียน
(12) ผู้รับใบอนุญาตทำการเป็นผู้บังคับหลักประกัน ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2562
(นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์)
อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
นายทะเบียนกลาง
ใบกำกับภาษี สำหรับการเปลี่ยนสินค้าทดแทน
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับตามสัญญาจ้างแรงงานของผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักวิจัยจากการเป็นลูกจ้างในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการ อุตสาหกรรมเป้าหมาย
การคำนวณเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม กรณีวันสุดท้ายตรงกับวันหยุดราชการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจดทะเบียนมูลค่าเพิ่มและความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์เป็นไปอย่างราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
To provide the best experiences, we user technologies like cookies to store and/or access device information. Consenting to these technologies will allow us to process data such as browsing behavior or unique IDs on this site. Not consenting or withdrawing consent, may adversely affect certain features and functions.