ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 268 เมษายน 2562

ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 268 เมษายน 2562

ดัชนีความเคลื่อนไหวของ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

Topix


    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ได้ประกาศลง ราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานที่มีการแก้ไขใหม่ ได้มีการประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2562  และให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยจุดประสงค์ในการแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับนี้ เพื่อที่ยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองแรงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น จึงขอสรุปสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างตามพระราชบัญญัตินี้ ดังนี้

  1. ลากิจ  ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นอย่างน้อย 3 วันทำงานและนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันลาไม่เกิน 3 วันทำงานต่อปี
  2. ลาเพื่อคลอดบุตร ให้ลูกจ้างเพศหญิงมีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรไม่เกิน 98 วันและการลาเพื่อตรวจครรภ์ให้ถือเป็นการลาเพื่อคลอดบุตร
  3. อัตราค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง หากเลิก จ้างลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกัน 20 ปีขึ้นไป จะต้องได้รับค่าชดเชยในอัตราค่าจ้าง 400 วันสุดท้าย
  4. การเปลี่ยนตัวนายจ้าง การเปลี่ยนตัวนายจ้างจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หากลูกจ้างไม่ยินยอม จะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษ
  5. การย้ายสถานประกอบการไปที่อื่น หาก ลูกจ้างไม่ต้องการไปทำงานที่แห่งใหม่ มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับตามมาตรา 118
  6. ค่าตอบแทน หากนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทนหรือเงินที่นายจ้างทีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ แก่ลูกจ้างภายในเวลาที่กำหนดนายจ้างต้อง เสียดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีในระหว่างผิดนัด
  7. ความเท่าเทียมกันทางเพศระหว่างชายและหญิง

หากลูกจ้างชายและหญิงทำงานในลักษณะ คุณภาพและปริมาณเท่ากัน   ลูกจ้างต้องได้รับค่าจ้างในอัตราที่เท่ากัน

    การใช้สกุลเงินอื่นนอกจากเงินตราไทยในการคำนวณมูลค่าทรัพย์สิน หนี้สิน และการชำระภาษี

เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2562 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 50) พ.ศ. 2562 ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2562 เป็นต้นไป เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ คือ เนื่องจากมาตรฐานการบัญชีได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ระหว่างประเทศ กิจการที่มีธุรกรรมทางการเงินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ สามารถเลือกใช้สกุลเงินต่างประเทศในการดำเนินงาน ได้ ดังนั้น การปฏิบัติจัดเก็บภาษีเงินได้จึงควรกำหนดให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีดังกล่าว และสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ประมวลรัษฎากรให้สามารถ ใช้สกุลเงินตราต่างประเทศเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการ ดำเนินงาน อัตราแลกเปลี่ยนสำหรับการคำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สิน วิธีการคำนวณและการชำระภาษีของบริษัท
    พระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม และยกเลิกมาตราในประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
        (1)    แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 65 ทวิ (5)    ในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิ สำหรับเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ ให้ใช้วิธีการคำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยตาม ราคาตลาด ณ วันที่รับหรือจ่ายเงินนั้น
        (2)    ยกเลิกมาตรา 65 ทวิ (8)
        (3)    เพิ่มเติมมาตรา 76 ตรี    ให้บริษัทแจ้งการใช้สกุลเงินตราต่างประเทศ สำหรับการจัดทำบัญชีงบดุล บัญชีทำการ บัญชีกำไรขาดทุน บัญชีรายรับก่อนหักรายจ่าย การคำนวณกำไรสุทธิ การคำนวณภาษีที่ต้องชำระ แก่อธิบดีกรมสรรพากร โดยจะเริ่มใช้สกุลเงินตราต่างประเทศได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้แจ้ง และเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษี แจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระหรือที่ได้รับคืน การคำนวณเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศตามที่บริษัทได้แจ้งไว้
        (4)    เพิ่มเติมมาตรา 76 จัตวา  กำหนดการคำนวณค่าหรือราคาเงินตรา ทรัพย์สิน หนี้สิน รายการอื่น ๆ ในงบการเงิน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่จะใช้สกุลเงินตราต่างประเทศ
        (5)    เพิ่มเติมมาตรา 76 เบญจ กำหนดให้ไม่นำวิธีการคำนวณตามมาตรา 65 ทวิ (5) มาใช้กับการคำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หนี้สิน ที่ใช้สกุลเงินตราต่างประเทศตามมาตรา 76 ตรี และกำหนดวิธีการคำนวณค่าหรือราคาดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ
        (6)    เพิ่มเติมมาตรา 76 ฉ ให้ใช้เงินตราไทยในการชำระภาษีและการคืนเงินภาษีของบริษัทที่ใช้เงินตราต่างประเทศ โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามอัตราถัวเฉลี่ยของธนาคาร พาณิชย์ ณ วันทำการก่อนวันชำระภาษีหรือวันที่อนุมัติคืนภาษี
        (7)    เพิ่มเติมมาตรา 76 สัตต ผลกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่บริษัทเปลี่ยนไปใช้สกุลเงินตราต่างประเทศ หรือจากการคำนวณสกุลเงินตราต่างประเทศเป็นสกุลเงิน ไทยเพื่อการชำระภาษีตามมาตรา 76 ตรี ไม่ให้ถือเป็นรายได้หรือรายจ่ายในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิ
หมายเหตุ การแก้ไขเพิ่มเติมมาตราข้างต้น ใช้บังคับกับบริษัทที่มีรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มหรือหลังจากวันที่ 1 มกราคม 2562

กฎหมายภาษีอากรที่น่า สนใจ

    พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ.2562

    พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 49) พ.ศ.2562   

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2559

รายจ่ายที่เป็นเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญา และรายจ่ายซึ่งมิใช่ รายจ่ายเพื่อหากำไร หรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9150/2560

กรณีการขายวัสดุของนิติบุคคลต่างประเทศ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจ้างทำของในประเทศไทยโดยนิติบุคคลเดียวกัน

    พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่ 676)

    ประกาศกระทรวงแรงงาน

กำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทน  หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือน

   กค.0702/924  ลงวันที่    1 กุมภาพันธ์ 2561

อากรแสตมป์ กรณีการขายลิฟท์ บันไดเลื่อน และทางลาดเลื่อน พร้อมติดตั้ง และการให้บริการบำรุงรักษาภายหลังการติดตั้ง

 

Comments are closed.

.