ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 271 กรกฎาคม 2562

ข่าวกฎหมายภาษี ฉบับที่ 271 กรกฎาคม 2562

ดัชนีความเคลื่อนไหวของ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

Topix

   
การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2562
มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562
โดยมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2562
เป็นต้นไป
ซึ่งเหตุผลในการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฉบับนี้
คือ
เพื่อให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการต่อผู้ให้บริการเกิดความสะดวกและ
ไม่เป็นภาระแก่ผู้ใช้บริการ
จึงกำหนดให้ผู้ใช้บริการสามารถพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่านระบบการพิสูจน์และยืนยันตัว
ตนทางดิจิทัลได้
และกำหนดให้มีกลไกควบคุมดูแลผู้ประกอบธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องในการสร้างระบบการ
พิสูจน์และยืนยันตัวตนที่มีความน่าเชื่อถือและ
ปลอดภัย
เพื่อเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจและคุ้มครองผู้บริโภค

สาระสำคัญของการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฉบับ
นี้ เป็นดังต่อไปนี้

  1.  เพิ่มนิยามคำว่า
    “การพิสูจน์และยืนยันตัวตน” และ
    “ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล”
    กล่าวคือ
    ให้การพิสูจน์และยืนยันความถูกต้องของบุคคลสามารถกระทำผ่านเครือข่ายทาง
    อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างบุคคล
    หรือหน่วยงานของรัฐได้
  2.  เพิ่มหมวด 3/1 เรื่อง
    ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
    และเพิ่มมาตรา 34/3 มาตรา 34/4 โดยกำหนดให้
    ผู้ให้บริการต้องแจ้งเงื่อนไขความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
    ให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้า
    โดยเงื่อนไขนั้นต้องมีไม่ต่ำกว่ามาตรฐานตามพระราชกฤษฎีกาที่คณะกรรมการธุรกรรมทาง
    อิเล็กทรอนิกส์กำหนด
    และเมื่อผู้ให้บริการมีการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลตามเงื่อนไขที่กำหนดแล้ว
    ให้สันนิษฐานว่าผู้ใช้บริการได้รับการพิสูจน์และ
    ยืนยันตัวตนว่าเป็นบุคคลนั้นจริง
  3.  ผู้ประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการ
    พิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
    ที่ดำเนินธุรกิจก่อนพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
    สามารถดำเนินธุรกิจได้ต่อไป
    และถ้าธุรกิจที่ดำเนินการเป็นธุรกิจภายใต้พระราชกฤษฎีกาที่กำหนดตามมาตรา
    34/4
    ผู้ประกอบธุรกิจบริการต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตภายใน
    90 วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
  4.  เพิ่มบทกำหนดโทษใน มาตรา 45/1
    กรณีผู้ประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
    ประกอบธุรกิจโดยไม่มีใบอนุญาต
    หรือประกอบธุรกิจระหว่างมีคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต
    หรือประกอบธุรกิจภายหลังมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
    ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน
    300,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ

กฎหมายภาษีอากรที่น่า
สนใจ

   
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4587/2546

     
   
สรรพากรมีอำนาจประเมินภาษีโดยพิจารณาธุรกิจจาก
“หนังสือบริคณห์สนธิ” ได้หรือไม่

   
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2560

         
เจ้าของเรือตามสัญญาจ้างขนส่งแบบมีกำหนดระยะเวลา
(Time Charter) ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
   

   
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร
    (ฉบับที่ 681) พ.ศ. 2562
        

   
กฎกระทรวง
กำหนดธุรกิจบริการที่ไม่ต้องขออนุญาตการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(ฉบับที่ 4)
    พ.ศ. 2562  

   
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่
13)   

        
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขขการลดอัตราภาษีเงินได้
ยกเว้นภาษีเงินได้และยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะของศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ
 

   
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 347)

        
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้
สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าเกี่ยวกับการศึกษาและ
กีฬา   
       

   
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 348)

         
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้
สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 

   
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 349)

       
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการหรือค่า
ที่พัก
สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองและใน   
       
   
จังหวัดอื่นซึ่งมิใช่จังหวัดท่องเที่ยวรอง
   

   
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 350)

        
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหนังสือทุก
ประเภท
หรือค่าบริการหนังสือทุกประเภทที่อยู่ในรูปของข้อมูล   
       
    
อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
  

   
ข้อหารือกองบริหารการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ
ประจำเดือนมีนาคม 2562

       
    กรณีคนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจ
การค้าปลีกและการค้าส่งสินค้าทุกชนิดโดยไม่ต้องขอ
รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

   
ข้อหารือกองบริหารการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ
ประจำเดือนเมษายน 2562

       
   
ขอบข่ายการประกอบธุรกิจภายใต้หนังสือรับรองและใบอนุญาตการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
รวมทั้งนิยามของการค้าปลีกและการค้าส่ง
     

 

Comments are closed.

.